นาฬิกาใจของใครเต้นแรงกว่ากัน

นาฬิกาคนไข้                                            นาฬิกาคุณ

คนไข้รู้สึกว่า    คอยนานแล้ว                ในขณะที่คุณรู้สึกว่า      แป้บเดียวเอง         ใช่หรือไม่                      

คนไข้รู้สึกว่า    ป่วยมาก                      ในขณะที่คุณรู้สึกว่า     นิดเดียวไกลหัวใจ    ใช่หรือไม่

คนไข้รู้สึกว่า    ที่นี่หลงทางได้ง่าย        ในขณะที่คุณรู้สึกว่า       หลับตาเดินได้เลย  ใช่หรือไม่

คนไข้รู้สึกว่า    คุณแปลกหน้า              ในขณะที่คุณรู้สึกว่า      เขาเหมือนกันทุกคน  ใช่หรือไม่

พี่ได้เห็นและอ่านข้อความข้างต้นในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง พี่ว่าน่าสนใจมากนะ สามารถทำให้เราฉุกคิดขึ้นมาได้ บางครั้งเราทำงานไปนานๆเข้า เราจะทำเป็นอัตโนมัติ เราจะเริ่มละเลยความเป็นคนของคนไข้ลงไป ลืมความเป็น Individual เราจะเริ่ม label เขาด้วยศัพท์ทางการแพทย์ต่างๆ ซึ่งเรามักทำกันไปโดยไม่รู้ตัว บางครั้งพวกเราทำถึงขนาดเรียกคนไข้เป็น caseๆ ไม่ได้เรียกชื่อคนไข้ เวลาคุยกันก็บอกว่า case DM, case epilepsy, case TB ฯลฯ ตอนที่เราพูดๆกันอยู่เรามักไม่นึกอะไรหรอก แต่ถ้าลองมาคิดดูดีๆ เรากำลังริดรอนสิทธิความเป็นคนของเขาลงไปมาก จริงๆเรากำลังรักษาคุณลุง….ป่วยเป็นโรควัณโรค ไม่ใช่รักษาลุงTB

มีคำกล่าวว่าสิทธิความเป็นคนจะถูกริดรอนไปตั้งแต่ก้าวเท้าเข้ามาในโรงพยาบาล เป็นคำกล่าวซึ่งสะท้อนความจริงส่วนหนึ่งที่ชาวบ้านมองเห็นและรู้สึก  หมอและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์อื่นๆรู้สึกว่าเป็นเรื่องง่ายๆชินแล้ว เป็น routine ในการประพฤติปฏิบัติบางอย่าง เช่นคนไข้หกล้มหัวแตกมา พยาบาลที่ ER อาจไม่ได้ให้ความสนใจอะไรมาก บอกว่ารอไปก่อนนะ ว่าแล้วก็ไปดูแลคนไข้คนอื่นซึ่งคิดว่าหนักกว่า แต่ชาวบ้านหรือญาติๆไม่ได้เห็นว่าเล็กน้อยเหมือนเรา เขาคิดว่าเจ็บมากแล้ว ไม่เห็นมีใครสนใจดูแลเลย นาฬิกาหรือเครื่องวัดของทั้งสองคนไม่เหมือนกัน เราควรเอาใจเขามาใส่ใจเราบ้าง คนไข้เป็นคนที่ไม่ได้อยู่ในภาวะปกติ เขาเป็นทุกข์ทั้งกายและใจ ความกังวล ความกลัวมีมากกว่าคนในภาวะปกติอยู่แล้ว Threshold ในเรื่องต่างๆอาจจะต่ำกว่าปกติอยู่แล้ว คนไข้และญาติคนไข้จึงอาจมีปฏิกิริยารุนแรงกับพวกเราได้เสมอๆ จึงแทบจะเป็นเรื่องที่เราพบเห็นได้ในทุกๆวันว่าคนไข้ไม่พอใจเจ้าหน้าที่ ทะเลาะ เถียงกับพวกเรา หรือพวกเราเองก็บ่นว่าคนไข้ว่าไม่รู้เรื่อง ไม่ได้เป็นอะไรร้องโอยๆอยู่ได้ หรือเพิ่งกินยาไปจะให้มันหายทันทีได้ยังไง (วะ)ฯลฯ ความไม่เข้าใจกันระหว่างหมอและคนไข้จึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่ายมาก เราในฐานะหมอ ก่อนอื่นเราต้องยอมรับในความแตกต่างและเอาใจเขามาใส่ใจเราบ้าง คิดถึงคนไข้มากขึ้น อย่ามัวคิดถึงไข้อยู่อย่างเดียว คิดถึงคนไข้ทั้งตัว คิดถึงสภาพจิตใจของเขาด้วย นึกไว้เสมอว่าคนป่วยไม่ได้ป่วยเพียงแค่กาย แต่ใจเขาก็ป่วยด้วย 

Tact, sympathy and understanding are expected of the physician, for the patient is no mere collection of symptoms, disordered functions, damaged organs, and disturbed emotions. He is human, fearful, and hopeful, seeking relief, help and reassurance.

 

Leave a Reply

 

 

 

You can use these HTML tags

<a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>