ความโกรธกับ Aristotle

Aristotle ซึ่งเป็นปราชญ์ชาวกรีกยุคโบราณได้เคยกล่าวเรื่องความโกรธไว้อย่างงดงามว่า

Anybody can become angry, that is easy, but to be angry with the right person, and to the right degree, and the right time, and for the right purpose, and in the right way, that is not withing everybody’s power and it is not easy.

ซึ่งพอจะถอดความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้

ทุกคนสามารถจะเกิดความโกรธขึ้นมาได้ มันไม่ใช่ของยาก แต่การที่เราจะโกรธให้ถูกที่ ถูกคน ถูกเวลา ถูกวิธีและมีระดับความโกรธอย่างเหมาะสม และเป็นไปเพื่อจุดมุ่งหมายที่ดี มันไม่ง่ายเลย และไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ 

จาก: Quote Shareware . . . → Read More: ความโกรธกับ Aristotle

คำสอนจากอาจารย์แพทย์

ยังจำได้ดีครับ สมัยเป็นนักศึกษาแพทย์ที่ศิริราชรู้สึกประทับใจในอาจารย์หลายๆท่านมาก บางครั้งคำพูดที่ท่านสั่งสอนทำให้ผมได้คิดและเกิดแรงบันดาลใจในการเรียนแพทย์อย่างประหลาด อาจารย์หลายๆท่านไม่เพียงสอนเรื่องวิชาความรู้เท่านั้น แต่ยังสอนถึงจิตวิญญาณ จริยธรรม และจรรยาบรรณในความเป็นแพทย์ด้วย ซึ่งหลายสิ่งหลายอย่างผมอยากจะนำมาถ่ายทอดที่นี่เพื่อให้น้องๆรุ่นหลังได้รับคำสั่งสอนดีๆเหล่านี้ด้วย เช่น

“การเป็นหมอต้องวินิจฉัยและรักษาไปตามการวินิจฉัยโรค ไม่ใช่วินิจฉัยอย่าง รักษาไปอีกอย่าง อย่าหลอกตัวเอง”

“แม้ว่าหมออาจจะไม่สามารถรักษาโรคได้ทุกโรค แต่หมอสามารถรักษาคนไข้ได้ทุกราย”

“เป็นหมอต้องมีความรู้มากกว่าหมอตี๋ขายยา ไม่ใช่ปวดหัวก็ให้ยาแก้ปวด ไอก็ให้ยาแก้ไอ”

“เป็นหมอแล้วไม่มีจริยธรรม เลวกกว่าหมาอีก”

“พยายามให้ได้ข้อมูลมาน้อยๆ แล้วคิดอะไรได้มากๆ แต่อย่าให้ได้ข้อมูลมามากๆ แต่คิดอะไรไม่ออก”

 

 ตอนเป็นนักศึกษาแพทย์ปี 2 ในชั่วโมง physiology

“จงให้ความรู้เป็นกุญแจไขความรู้สึกสำนึกของท่านเสียก่อน แล้วความรู้ที่ท่านต้องการจะเป็นของท่านง่ายขึ้น”

“ความรู้เรียนทันกันหมด สิ่งที่ใช้ apply กับคนไข้สำคัญ”

 

ตอนออก OPD เด็กขณะเป็นนักศึกษาแพทย์ปี 5 อาจารย์แพทย์ท่านหนึ่งสอนว่า

“ผมต้องต้อนพวกหมอ เพราะพวกหมอไม่พยายามต้อนตัวเอง”   

“เวลาเราฟังเสียงปอด พวกเรามักจะฟังแต่ Adventitious sound และถ้าไม่มีก็มักจะเขียนว่า lung clear, หรือ no . . . → Read More: คำสอนจากอาจารย์แพทย์

ทำไมถึงต้องเป็นฉัน (Why me?)

เชื่อแน่เลยครับว่าคำถามข้างต้นเป็นคำถามที่คนไข้หลายๆคนอยากจะถามหมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนไข้ที่เป็นโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น เป็นโรคมะเร็ง อัมพาต ฯลฯ เป็นต้น ทำไมถึงต้องเป็นเรา เราไม่ได้ทำอะไรเลย ฉันไม่เคยสูบบุหรี่ แล้วเป็นมะเร็งได้อย่างไร ผมออกกำลังกายมาตลอด ระวังในการกินมาตลอดทำไมถึงเป็นโรคหัวใจ ฯลฯ แม้ว่าคำถามนี้จะเกิดขึ้นในใจของคนไข้หลายๆคน แต่น้อยคนที่จะหลุดออกไปเป็นคำถามถามหมอ ซึ่งจริงๆแล้ว คำถามนี้นับว่าเป็นคำถามที่หมออย่างเราตอบยากที่สุดอีกคำถามหนึ่งครับ

ตอบอย่างตรงไปตรงมา ก็คือ ไม่มีใครรู้หรอกครับว่าทำไมคุณถึงเป็นโรคนั่นโรคนี้ แม้ว่าตามหลักวิทยาศาสตร์แล้วเราพอที่จะตอบอย่างมีหลักการได้ เช่น คุณมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ  ที่จะทำให้เกิดโรคคือ.1….2….3…4……ฯลฯ หรือคุณมีกรรมพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคได้ง่ายกว่าคนอื่น  ฯลฯ เช่น  ถ้ามีใครสักคนถามนะครับว่าทำไมถึงเป็นโรคเบาหวาน ตอบตามหลักก็อาจจะพูดว่า เพราะคุณอ้วน มีกรรมพันธุ์ กินหวานบ่อย ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย มีภาวะดื้อต่อ insulin ฯลฯ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เรียกเหตุปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดโรคว่าเป็นปัจจัยแบบ Multifactors

ซึ่งถ้าพิจารณาดูดีๆนะครับจะพบว่า ก็ไม่ใช่ว่าคนอ้วนทุกคนจะเป็นเบาหวาน หรือมีคนที่พ่อแม่เป็นเบาหวานทั้งคู่แต่เจ้าตัวก็ไม่ได้เป็นเบาหวานก็มี หรือในทางตรงกันข้าม คนผอม หรือคนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอก็เป็นเบาหวานได้ คำถามคือทำไม คำตอบจริงๆก็คือไม่รู้ แม้แต่โรคติดเชื้อต่างๆที่มีสาเหตุแน่ชัดเช่น โรคไข้เลือดออกเป็นต้น ทำไปบางคนถูกยุงที่มีเชื้อไข้เลือดออกแล้วไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อยมากจนไม่รู้ด้วยซ้ำว่ากำลังติดเชื้อไข้เลือดออกอยู่ ในทางตรงกันข้ามบางคนติดเชื้อเดียวกัน แต่มีอาการรุนแรง มีภาวะช๊อค มีเลือดออก รุนแรงมากจนเสียชีวิตได้ . . . → Read More: ทำไมถึงต้องเป็นฉัน (Why me?)