By InMyMind, on March 7th, 2012
เมื่อเร็วๆนี้ผมเพิ่งได้มีโอกาสฟังเสียงอ่านหนังสือปาฏิหารย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ ของท่าน ติช นัท ฮันท์ แล้วรู้สึกประทับใจมาก คำสอนของท่านช่างดูเรียบง่ายแต่ลึกซึ้งมาก ท่านจะสอนเน้นเรื่องการมีสติอยู่กับปัจจุบัน ฟังดูง่ายและตรงไปตรงมาใช่ไหมครับ แต่ลองคิดดูดีๆนะครับว่า จริงๆแล้วในชีวิตประจำวันของพวกเรา มีใครสามารถใช้ชีวิตอยู่ในปัจจุบันได้อย่างแท้จริงบ้าง เวลาเราทำอะไรสักอย่าง ใจของเราอยู่ที่ไหน อยู่กับปัจจุบันหรือไม่
ท่านติช นัท ฮันท์ ยกตัวอย่างง่ายๆให้เราฟังว่า เวลาล้างจาน ใจเราอยู่กับการล้างจานหรือไม่ เราล้างจานกันเป็นไหม ดังคำในหนังสือตอนหนึ่งว่า
“…ถ้าหากว่าขณะล้างจาน เราไปคิดถึงแต่ว่าเดี๋ยวจะไปดื่มน้ำชา หรือคิดถึงเรื่องอื่นที่จะมาในอนาคต เราก็จะรีบล้างจานให้เสร็จๆ ไป เหมือนกับว่าเป็นเรื่องที่น่ารำคาญเหลือเกินแหละ เราไม่ได้ “ล้างจานเพื่อล้างจาน” แล้ว และยิ่งกว่านั้น ตอนล้างจานเราก็ไม่ได้มีชีวิตอยู่ด้วย เราไม่อาจจะเข้าถึงความมหัศจรรย์ของชีวิตขณะที่เรายืนอยู่ที่อ่างล้างจานได้ และถ้าเราล้างจานไม่เป็น ตอนที่เราดื่มน้ำชาเราก็ไม่ได้ดื่มน้ำชาด้วย เพราะเรามัวจะไปนึกถึงเรื่องอื่นเสีย . . . → Read More: อยู่กับปัจจุบัน…เรียบง่ายแต่ลึกซึ้ง
By InMyMind, on December 19th, 2011
ผมยังจำได้ดีถึงคำสอนอีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งได้ยินตอนผ่านสูติศาสตร์ มีอาจารย์ท่านหนึ่งท่านพูดสอนไว้ ซึ่งผมประทับใจมาก และนำไปสอนต่ออยู่บ่อยๆ ท่านเน้นว่าการเรียนแพทย์ให้ได้ดีนั้น คือต้องใส่ใจ ช่างสังเกตุ หัดตั้งคำถาม และพยายามหาคำตอบด้วยตัวเองเสมออย่าปล่อยให้มันผ่านมาแล้วผ่านไป โดยไม่ได้เรียนรู้อะไร
ท่านเปรียบนักศึกษาแพทย์พวกเราว่า เมื่อเราเรียนหนังสือ ก็เหมือนกับพวกเราไปนั่งอยู่ในสวนแห่งหนึ่ง มองท้องฟ้า ดูนกที่กำลังบินไปบินมา นักศึกษาแพทย์บางคนก็เริ่มสนใจ ช่างสังเกตุ และพยายามเรียนรู้ว่า หน้าตา รูปร่าง ลักษณะของนกที่บินมามันเป็นอย่างไร วันเวลาผ่านไปเขาก็เรียนรู้ขึ้นทีละเล็กทีละน้อย เริ่มรู้ว่านกที่บินมาชื่ออะไร มีรูปร่างลักษณะอย่างไร บินมาเดี่ยวๆหรือเป็นคู่ หรือมาทั้งฝูง ตัวไหนตัวผู้ตัวไหนตัวเมีย ในไม่ช้าไม่นาน เขาก็เป็นผู้เชียวชาญเรื่องนกขึ้นมาได้ แต่นักศึกษาแพทย์บางคนนั่งดูนกเหมือนกันแต่ไม่ได้สนใจอะไร เห็นมันบินผ่านมาแล้วผ่านไปทุกวัน ก็รู้แค่ว่า นั่นก็นก นี่ก็นก ไม่เห็นจะมีอะไร เมื่อเรียนจบเขาก็ไม่รู้อะไรเพิ่มขึ้นเลย
นักศึกษาแพทย์ก็เหมือนกันครับ เวลาขึ้น ward ใหม่ๆ ยังซักประวัติ ตรวจร่างกายไม่เก่งนัก ก็ต้องฝึกฝน ค่อยๆเรียนรู้กันไป และเรียนรู้อาการหรือโรคไปทีละ 1-2 อย่าง ข้อสำคัญคือ อย่าเรียนแบบผ่านๆ ไม่ใช่ว่าเจอคนไข้ปวดท้องที่ OPD หลายๆ case ก็ไม่ได้สนใจอะไร คิดว่า นี่ก็คนไข้ปวดท้อง นั่นก็คนไข้ปวดท้องอีกแล้ว . . . → Read More: คำสอนจากอาจารย์แพทย์ (2)
By InMyMind, on December 16th, 2011
เคยลองสังเกตดูไหมครับว่า พวกเราแต่ละคนบางครั้งมีความเข้มงวดกับตัวเองในบางแง่บางมุม ในเวลาเดียวกันบางแง่บางมุมเราก็จะผ่อนปรนกับตัวเอง เช่น ตัวอย่างง่ายๆ เช่น หลายคนกลัวอ้วนมาก ไม่ยอมกินขนมหวาน ของมัน หรือ กะทิเลย แต่ถ้าเป็นของโปรดเช่นน้ำอัดลม จะกินได้โดยไม่คิดมากเรื่องอ้วน หรือบางคน sensitive เรื่องการใช้เงิน จะประหยัดมาก ไม่ยอมซื้ออะไรเลย แต่อาจจะมีของบางอย่างที่เจ้าตัวชอบจะซื้อ และซื้อได้โดยไม่คิดมากนัก นั่นคือการเข้มงวดในบางอย่างและผ่อนให้กับตัวเองในบางอย่าง ผมว่านี่คือเรื่องปกติของทุกคน ทุกคนมักจะมีแง่มุมเช่นนี้เสมอ
หรือในเรื่องความละเอียด ความเอาใจใส่ก็เช่นกัน เราคงเคยเห็นที่หลายคนดูจะเป็นคนไม่มีระเบียบเลย โต๊ะไม่จัด ของกองๆไว้ และดูไม่ใส่ใจอะไรเลย แต่เขาอาจมีบางแง่ที่มีความละเอียดอยู่ก็ได้ เช่นเขาอาจเป็นคนพิถีพิถันเรื่องการกิน ต้องมีขั้นตอน หรือมีพิธีรีตองเป็นต้น ในทางตรงข้าม บางคนดูจะเป็นคนละเอียดไปทุกเรื่อง แต่ในเรื่องบางอย่างเขาอาจจะไม่ใส่ใจก็ได้
ผมว่าจุดนี้เป็นจุดสำคัญในการอยู่ร่วมกันที่เราต้องมองให้ออก และเข้าใจในกันและกัน โดยเฉพาะคนในครอบครัวหรือสามีภรรยา หลายๆคู่ถ้าไม่เข้าใจจะมีปัญหาตรงนี้ได้ง่าย เช่น สามีเป็นคนดีคนเก่ง เป็นพ่อบ้านดูแลบ้านได้ดีมาก งานช่างอะไรแก้ได้ ทำเองเป็นหมด ไม่ว่า จะทาสีบ้านใหม่ ซ่อมท่อแตก ท่อตัน แก้โน้นแก้นี่ทำได้หมด ฯลฯ นั่นคือความสามารถหรือสิ่งที่สามีถนัด แต่สามีคนเดียวกันนี้อาจไม่เป็นเอาซะเลย ในเรื่องคอมพิวเตอร์ อาจจะไม่ get เลยในการหาข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงการจองหรือซื้อของทางคอมพิวเตอร์เขาก็จะไม่กระดิกเลย . . . → Read More: บางเหลี่ยมบางมุมของแต่ละคน