By InMyMind, on April 26th, 2010
โรงพยาบาลชุมชนเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก น้องๆหลายคนก่อนที่จะออกมาใช้ทุนอาจจะเคยมีประสบการณ์ในโรงพยาบาลระดับนี้มากก่อนในตอนออกเวชศาสตร์ชุมชน คงจะพอนึกภาพออกนะครับ โรงพยาบาลชุมชนส่วนใหญ่ มีขนาดเล็กๆ มีตึกอยู่เพียงไม่กี่ตึก มีเจ้าหน้าที่อยู่ไม่มาก ส่วนใหญ่จะรู้จักกันดี และปฏิบัติงานกันมานานแล้ว สำหรับน้องซึ่งถือเป็นน้องใหม่ในโรงพยาบาล พี่ๆที่ทำงานอยู่แล้วส่วนใหญ่จะให้การต้อนรับ และเป็นกันเองกับน้องๆ โดยผู้อำนวยการโรงพยาบาล อาจจะพาน้องๆเดินดูฝ่ายต่างๆ พบเจ้าหน้าที่ในฝ่ายนั้นๆ เพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยให้ แต่ในช่วงแรกๆน้องๆอาจจะยังงงๆว่าใครเป็นใคร และห้องต่างๆอยู่ตรงไหน ก็ไม่เป็นไร นานวันเข้าน้องๆจะคุ้นเคยเอง
โรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กๆส่วนใหญ่ จะมีตึกเพียงไม่กี่ตึก ทุกโรงพยาบาลที่มีขนาดเดียวกันจะมีการออกแบบที่เหมือนกัน เพราะเป็นแปลนจากกระทรวง โดยทั่วไปจะมีตึกผู้ป่วยนอก ซึ่งจะรวมเอาห้องตรวจ OPD ห้องจ่ายยา ห้องชันสูตร ห้องเอ๊กซ์เรย์ และห้องฉุกเฉินอยู่ด้วยกัน และอาจมีห้องคลอด ห้องผ่าตัด อยู่ข้างๆ หรืออยู่ทางส่วนหลังของตึกนี้ นอกจากตึกผู้ป่วยนอกแล้วยังมีตึกผู้ป่วยในอยู่หรือที่เราเรียกกันว่า Ward ซึ่งถ้าเป็นโรงพยาบาลขนาด 10,30 เตียง จะมีอยู่เพียง Ward เดียว โดยจะเป็น ward รวม ไม่มีการแยกประเภทของผู้ป่วย เด็กและผู้ใหญ่อยู่ตึกเดียวกัน ผู้หญิงและผู้ชายอยู่ตึกเดียวกัน แต่อาจจะคนละด้าน โดยปกติแล้ว ward ผู้ป่วย 1 ward จะสามารถรองรับผู้ป่วยได้ 30 . . . → Read More: ที่โรงพยาบาลชุมชนมีอะไร
By InMyMind, on April 26th, 2010
น้องๆหลายคนที่ต้องมาใช้ทุนอาจมีคำถามว่าทำไมต้องส่งแพทย์ที่เพิ่งจบใหม่ หรือเรียกว่าแพทย์ใช้ทุนออกไปทำงานที่รพช.ด้วย คำตอบสั้นๆง่ายๆและตรงไปตรงมาที่สุดก็คือ ถ้าไม่ส่งพวกน้องไปทำงานที่รพช. และใครล่ะจะมาทำงานที่รพช. เนื่องจากประเทศของเรายังมีปัญหาขาดแคลนแพทย์อีกมาก โดยเฉพาะแพทย์ในชนบท แพทย์ส่วนใหญ่ของประเทศทำงานอยู่ในกรุงเทพหรือในเมืองใหญ่ๆ ทำให้การกระจายของแพทย์ไม่ดี ในชนบทท้องถิ่นห่างไกลมักจะไม่มีแพทย์ดูแล หรือแพทย์มีจำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เช่นในบางอำเภอมีประชากร 30,000-40,000 คน มีโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียงเพียง โรงพยาบาลเดียว และมีแพทย์เพียงคนเดียวประจำอยู่ น้องๆจะเห็นว่าแพทย์หนึ่งคนต้องรับผิดชอบคนไข้หลายหมื่นคน ตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นเรื่องที่หนักมากเหมือนกัน ต้องยอมรับว่าแพทย์ส่วนใหญ่เป็นผู้คนในสังคมเมือง โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ในชนบท การดำรงชีวิตอยู่ ครอบครัว ญาติๆก็อยู่ในเมืองเป็นส่วนใหญ่ ทำให้แพทย์ที่ทำงานในรพช. ส่วนมากอยู่ได้ไม่กี่ปี เพราะไม่คุ้นเคยกับสภาพชนบท รู้สึกอยู่ไปๆก็ตรวจแต่คนไข้ OPD ง่ายๆ ไม่มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ พอใช้ทุนครบก็มักจะกลับมาเรียนต่อ หรือขอโยกย้ายมาใกล้บ้าน หรือลาออก ทำให้แพทย์ในชนบทยิ่งขาดแคลนมากขึ้น น้องๆลองคิดดูว่าถ้าเขาไม่ได้บังคับน้องๆให้ออกมาใช้ทุนในโรงพยาบาลชุมชนแล้ว แล้วใครจะมาเป็นแพทย์ตรวจในโรงพยาบาลชุมชนล่ะ เพราะทุกคนมุ่งเข้ามาหาความเจริญ ความก้าวหน้าในวิชาชีพในเมืองทั้งนั้น ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในชนบทจึงยิ่งรุนแรงมากขึ้น
แต่โรงพยาบาลชุมชนก็ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายหรืออยู่ไม่ได้หรอกนะน้องๆ สิ่งที่ดีๆก็มีอยู่มากในรพช. ซึ่งช่วงเวลาที่น้องๆมาใช้ทุนในรพช.น้องๆจะได้รับประสบการณ์หลายๆอย่างมาก . . . → Read More: ทำไมต้องมาอยู่ รพช.
By InMyMind, on April 26th, 2010
สำหรับน้องๆที่ยังไม่คุ้นเคยกับระบบสาธารณสุขเมืองไทย อาจมีคำถามง่ายๆ ซึ่งบางครั้งไม่กล้าถามออกมาตรงๆ คือ โรงพยาบาลชุมชนคืออะไร ต่างจากโรงพยาบาลอำเภอหรือเปล่า การจะตอบคำถามนี้ น้องๆคงต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบสาธารณสุขของเมืองไทยปัจจุบันก่อน (ซึ่งกำลังจะเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้ เพราะมีเรื่องการกระจายอำนาจ การปฏิรูประบบสาธารณสุข) โรงพยาบาลของรัฐในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยให้บริการด้านสาธารณสุขของประเทศ มีอยู่ 3 ระดับคือ
1 โรงพยาบาลศูนย์ คือโรงพยาบาลขนาดใหญ่ มีเครื่องไม้เครื่องมือพร้อม มีแพทย์ specialist ทุกสาขาอยู่ โรงพยาบาลนี้มักจะเป็นศูนย์กลางให้จังหวัดใกล้เคียง Refer case ที่ยุ่งยากซับซ้อนมาให้ ตัวอย่างโรงพยาบาลศูนย์ก็เช่น โรงพยาบาลพุทธชินราช ซึ่งรับดูแลคนไข้ในจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ ฯลฯ โรงพยาบาลศูนย์สระบุรี โรงพยาบาลศูนย์ลำปาง ฯลฯ
2 โรงพยาบาลทั่วไป หรือก็คือโรงพยาบาลประจำจังหวัดนั่นเอง คือในเขตอำเภอเมืองของจังหวัดทุกจังหวัด จะมีโรงพยาบาลประจำจังหวัดอยู่ ซึ่งมีศักยภาพมากพอสมควรในการดูแลคนไข้ในเขตจังหวัด ดังนั้นในทุกจังหวัด จะมีโรงพยาบาลทั่วไปอย่างน้อย 1 แห่งในจังหวัด แต่ในบางจังหวัด อาจมีเป็นโรงพยาบาลศูนย์เลยก็ได้ เช่นจังหวัดพิษณุโลกไม่มีโรงพยาบาลทั่วไป แต่มีโรงพยาบาลศูนย์เลย และในบางจังหวัดอาจมีโรงพยาบาลทั่วไปมากกว่า 1 แห่งก็ได้ . . . → Read More: โรงพยาบาลชุมชนคืออะไร อะไรคือโรงพยาบาลชุมชน