คนไข้ตายในรพช.ไม่ได้นะเดี๋ยวมีเรื่อง

น้องบางคนคงเคยได้ยินคำพูดนี้ ซึ่งมักจะเป็นแพทย์รุ่นพี่เล่าให้ฟัง ซึ่งก็เป็นความจริงอยู่บ้างแล้วแต่กรณีนะ คงจะไม่เป็นอย่างนั้นทุกกรณีหรอก คำพูดที่ว่าให้ตายไม่ได้ เนื่องจากว่าชาวบ้านในอำเภอไกลๆส่วนหนึ่งมักจะคิดว่ารพช.เป็นโรงพยาบาลชั้น 2 ไม่สามารถดูแลญาติเขาได้ดีเท่าที่ควร ยังมีโรงพยาบาลจังหวัดอยู่อีกที่สามารถจะไปรักษาได้ คนไข้และญาติกลุ่มนี้มักจะคาดหวังให้หมอส่งคนไข้ไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลจังหวัดหรือโรงพยาบาลศูนย์ไปเลย ในกรณีที่ญาติคิดว่าอาการเป็นหนักหรือรักษาที่นี่แล้วไม่ดีขึ้นซะที ซึ่งก็เป็นสิทธิของคนไข้ คราวนี้มันก็มักจะมีปัญหากับพวกเราซึ่งเป็นหมอเสมอว่า อาการหนักของคนไข้ กับอาการหนักของเรามักไม่ตรงกัน

หมอทุกคนเองที่อยู่รพช. พร้อมที่จะส่งคนไข้ไปโรงพยาบาลระดับสูงกว่าอยู่แล้ว ถ้าคิดว่าถึงจำเป็นและถึงเวลาที่เหมาะสมแล้ว คราวนี้เมื่อไรคือความจำเป็น และเมื่อไรคือเวลาที่เหมาะสมล่ะ คงตอบยากแล้วแต่คนไข้ และแล้วแต่หมอแต่ละคนเหมือนกันนะ นอกจากนี้เรื่อง Progression ของ โรคเป็นอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ บางครั้งมัน Progress ไปเร็วมาก หรือไปในทางที่คาดไม่ถึง ก็ทำให้แย่ลงได้มากๆ และทำให้ญาติไม่เข้าใจอาจกล่าวโทษหมอได้ ทั้งๆที่หมอเองก็คิดว่าได้รักษาอย่างถูกหลักวิชาการทุกอย่าง เกิดปัญหาขึ้นมาได้ น้องที่ยังไม่มีประสบการณ์ฟังอาจจะไม่เข้าใจนัก พี่จะลองยกตัวอย่างให้เห็นภาพพจน์นะ

ตัวอย่างที่1 “รอจนแย่แล้วค่อยส่ง”

          เป็น case Motorcycle accident ดูไม่รุนแรงมาก ตอนมาที่เรา GCS=13-14 ยังพูดไม่รู้เรื่องเท่าไร คนไข้เมาเหล้าด้วย หมอคนหนึ่งอยู่โรงพยาบาลชุมชนเล็กๆ ไกลจากตัวจังหวัดประมาณ 100 กม. จึงสั่ง Admit, NPO, Observe Neurosign, Vital sign q 1 . . . → Read More: คนไข้ตายในรพช.ไม่ได้นะเดี๋ยวมีเรื่อง

Refer / Not Refer

 “หมอ ขอไปรักษาต่อในเมือง”, “ลุงไปรักษาในเมืองเถอะ เดี๋ยวหมอจะเขียนใบส่งตัวไปให้นะ”  เป็นคำพูดที่น้องจะต้องได้คุ้นแน่นอนเมื่อน้องเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน รพ.ชุมชนเป็นเพียงโรงพยาบาลประจำอำเภอเล็กๆ โรงพยาบาลชุมชนไม่สามารถรักษาได้ทุกโรค บางโรคต้องการการตรวจเพิ่มเติมหรือการรักษาที่เฉพาะหรือการผ่าตัดที่ยุ่งยาก น้องสามารถจะส่งต่อหรือที่เรียกกันว่า Refer คนไข้ไปยังโรงพยาบาลที่มีความพร้อมมากกว่า โดยน้องต้องเขียนใบ Refer ซึ่งเป็นใบส่งตัวคนไข้ ซึ่งจะต้องเล่ารายละเอียดและข้อมูลของคนไข้ในความดูแลของน้อง และบอกสาเหตุการ Refer ว่า Refer ด้วยสาเหตุอะไร โดยปกติแล้ว น้องซึ่งเป็นแพทย์จะต้องแยกแยะให้ได้ว่าคนไข้คนไหนหนักหรือต้องการการตรวจเพิ่มเติม จะต้องส่งต่อไปยังจังหวัด คนไข้ไหนที่สามารถรักษาที่โรงพยาบาลเราได้

ทีนี้ก็เมื่อน้องเขียนใบ Refer เสร็จแล้ว ก็ให้คนไข้ถือไปโรงพยาบาลจังหวัด โดยการไปโรงพยาบาลจังหวัดนั้นมีได้ 2-3 ทางใหญ่ๆ คือการให้คนไข้ไปขึ้นรถโดยสารไปเอง หรือให้คนไข้ไปหารถเองเอง หรือใช้รถโรงพยาบาลไป การจะเลือกไปโดยวิธีนี้ก็แล้วแต่สภาพคนไข้ ญาติ และการตัดสินใจของแพทย์ ในรายที่มีอาการหนัก สาหัส ต้องการการส่งตัวไปรักษาทันที น้องสามารถที่จะเรียกใช้รถโรงพยาบาลไปได้ โดยปกติแล้วรถโรงพยาบาลจะมีเตรียมพร้อมตลอด 24 ชม. โดยน้องอาจให้พยาบาลโทรตามคนขับรถ และอาจจะตามพยาบาลเวร Refer ด้วย พยาบาลเวร Refer คือพยาบาลที่อยู่เวร On call ที่จะไปกับรถ Refer เมื่อมี case . . . → Read More: Refer / Not Refer

นาฬิกาใจของใครเต้นแรงกว่ากัน

นาฬิกาคนไข้                                            นาฬิกาคุณ

คนไข้รู้สึกว่า    คอยนานแล้ว                ในขณะที่คุณรู้สึกว่า      แป้บเดียวเอง         ใช่หรือไม่                      

คนไข้รู้สึกว่า    ป่วยมาก                      ในขณะที่คุณรู้สึกว่า     นิดเดียวไกลหัวใจ    ใช่หรือไม่

คนไข้รู้สึกว่า    ที่นี่หลงทางได้ง่าย        ในขณะที่คุณรู้สึกว่า       หลับตาเดินได้เลย  ใช่หรือไม่

คนไข้รู้สึกว่า    คุณแปลกหน้า              ในขณะที่คุณรู้สึกว่า      เขาเหมือนกันทุกคน  ใช่หรือไม่

พี่ได้เห็นและอ่านข้อความข้างต้นในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง พี่ว่าน่าสนใจมากนะ สามารถทำให้เราฉุกคิดขึ้นมาได้ บางครั้งเราทำงานไปนานๆเข้า เราจะทำเป็นอัตโนมัติ เราจะเริ่มละเลยความเป็นคนของคนไข้ลงไป ลืมความเป็น Individual เราจะเริ่ม label เขาด้วยศัพท์ทางการแพทย์ต่างๆ ซึ่งเรามักทำกันไปโดยไม่รู้ตัว บางครั้งพวกเราทำถึงขนาดเรียกคนไข้เป็น caseๆ ไม่ได้เรียกชื่อคนไข้ เวลาคุยกันก็บอกว่า case DM, case epilepsy, case TB ฯลฯ ตอนที่เราพูดๆกันอยู่เรามักไม่นึกอะไรหรอก แต่ถ้าลองมาคิดดูดีๆ เรากำลังริดรอนสิทธิความเป็นคนของเขาลงไปมาก จริงๆเรากำลังรักษาคุณลุง….ป่วยเป็นโรควัณโรค ไม่ใช่รักษาลุงTB

มีคำกล่าวว่าสิทธิความเป็นคนจะถูกริดรอนไปตั้งแต่ก้าวเท้าเข้ามาในโรงพยาบาล เป็นคำกล่าวซึ่งสะท้อนความจริงส่วนหนึ่งที่ชาวบ้านมองเห็นและรู้สึก  หมอและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์อื่นๆรู้สึกว่าเป็นเรื่องง่ายๆชินแล้ว เป็น routine ในการประพฤติปฏิบัติบางอย่าง เช่นคนไข้หกล้มหัวแตกมา พยาบาลที่ ER อาจไม่ได้ให้ความสนใจอะไรมาก . . . → Read More: นาฬิกาใจของใครเต้นแรงกว่ากัน