การออกใบรับรองแพทย์

  ใบรับรองแพทย์เป็นเอกสารที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง ซึ่งมีแต่แพทย์หรือผู้มีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมเท่านั้นที่สามารถออกใบนี้ได้ จึงนับว่าเป็นเกียรติและศักดิ์ศรีอย่างมากของแพทย์ที่สามารถออกใบนี้ได้ ใบรับรองแพทย์เป็นเอกสารที่หลายๆฝ่ายหลายๆองค์การให้การเชื่อถือมาก ใช้เป็นหลักฐานยืนยันในหลายๆกรณีได้ ดังนั้นในการประกอบวิชาชีพแพทย์น้องจึงมักหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องออกใบรับรองแพทย์ให้คนไข้ สำหรับน้องๆที่เพิ่งจบใหม่อาจจะเพิ่งมาได้ออกใบรับรองแพทย์เป็นครั้งแรกของชีวิต อาจจะรู้สึกตื่นเต้นหรือไม่แน่ใจในการเขียนว่าจะเขียนได้ถูกต้องหรือไม่ ไว้พอน้องมีประสบการณ์มากขึ้นจะรู้สึกไม่ลำบากนักในการเขียนใบรับรองแพทย์ ใบรับรองแพทย์โดยทั่วไปที่น้องต้องออกให้มีหลายประเภทคือ

          1 ใบรับรองแพทย์ตรวจสุขภาพดี เป็นใบที่มีประชาชนมาขอให้น้องออกให้บ่อยที่สุด เนื่องจากเขาจะต้องใช้ไปเป็นหลักฐานในการสมัครต่างๆ เช่น ทำใบขับขี่ สมัครเข้าเรียน สมัครเข้าสถาบันการศึกษา สมัครบรรจุเป็นข้าราชการ สมัครเข้าทำงานใหม่ สมัครเข้าชมรม สมัครกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ลาบวช ต่ออายุงาน ฯลฯ เนื้อความในใบรับรองแพทย์คือให้คำรับรองว่าบุคคลมีสุขภาพที่แข็งแรงดี ปราศจากโรคร้ายแรงใดๆ ข้อความในใบรับรองแพทย์ส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาคล้ายๆกัน คือจะระบุว่า ข้าพเจ้า นายแพทย์/แพทย์หญิง ชื่อ……นามสกุล ……ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมเลขที่…..ทำงานอยู่ที่ไหน ได้ทำการตรวจบุคคลชื่อ…….นามสกุล…..ที่อยู่ และบัตรประชาชน ลงเลขที่ด้วย ได้ตรวจในวันที่ …….. ณ. …… ตรวจแล้วพบว่าบุคคลดังกล่าวมีสุขภาพกายและจิตสมบูรณ์ไม่มีผู้ทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบหน้าที่ได้ และปราศจากอาการและอาการแสดงของโรคต่อไปนี้ คือ

-          โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่น่ารังเกียจของสังคม

-          วัณโรคในระยะอันตราย

-          โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจของสังคม

-          โรคติดยาเสพติดให้โทษ

. . . → Read More: การออกใบรับรองแพทย์

ความรู้หดหายหมด ในรพช.!

บางครั้งน้องๆคงเคยได้ยินพี่ๆที่รพช.บ่นว่า อยู่ที่บ้านนอกนานๆแล้ว ความรู้หดหายหมด พี่ๆมักจะพูดว่า ที่นี่มีแต่ case ง่ายๆ ส่วนใน case ที่ยากๆส่วนใหญ่ เราก็ทำอะไรไม่ค่อยได้ ต้อง Refer หมด เลยไม่มีโอกาสได้ดู case ต่อ โรงเรียนแพทย์นั้นที่เราเพิ่งได้เรียนจบกันมา เป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญ แต่มักจะเป็นแหล่งรวมของ Case ที่ยากๆ ที่มีปัญหา และพบค่อนข้างน้อยในเวชปฏิบัติทั่วไป แต่เนื่องจากโรงเรียนแพทย์นั้นนับว่าเป็น Medical Center สามารถดูแล Tertiary care ได้ จึงเป็นแหล่งรับ Refer case ยากๆมาเสมอ แต่น้องต้องอย่าลืมว่า Incidence จริงๆของโรคที่เจอในโรงเรียนแพทย์นั้นไม่มากหรอก

ยกตัวอย่างเช่นคนไข้ใน Ward med ที่โรงเรียนแพทย์ อาจจะมี case พวก SLE, Vulvular heart disease, leukemia, UGIH, Septic shock, DKA, Hypertensive crisis, Endocarditis, . . . → Read More: ความรู้หดหายหมด ในรพช.!

“ทำไมเพิ่งมาหาหมอ ถ้ามาเร็วกว่านี้อาจจะรอด”

 จรรยาแพทย์มีข้อหนึ่งที่สำคัญ นั่นคือการไม่ให้ร้ายผู้ประกอบวิชาชีพเดียวกัน ไม่ทำให้วงการแพทย์ต้องเสื่อมเสีย เว้นแต่จะทำโดยตามบทบัญญัติแห่งกฏหมายหรือเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม การให้ร้ายแพทย์ด้วยกันเป็นสิ่งที่น่าเกลียด ไม่ควรจะทำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการนินทาแพทย์หรือ Blame แพทย์ด้วยกันให้ผู้ป่วยฟัง เพื่อหวังให้ตัวเองได้ Credit เพราะคนไข้จะไม่เข้าใจและจะเชื่อหมอที่อยู่ที่โรงพยาบาลใหญ่กว่าเสมอ ทำให้มีเรื่องฟ้องร้องกันมาก

ตัวอย่างง่ายๆเช่น คนไข้ Case Head injury ที่นอน Observe ที่รพช. ปรากฎว่า score drop ลง จึง Refer มา แต่มาถึงโรงพยาบาลจังหวัด ทำ CT แล้ว ปรากฏว่าคนไข้ score drop  เหลือ = 3 ผ่าไม่ได้แล้ว หมอที่จังหวัดถ้าพูดว่า ผ่าไม่ได้แล้ว เพราะมาช้าเกินไป ถ้ามาเร็วกว่านี้อาจจะรอดก็ได้ ลองคิดดูว่าการพูดเช่นนี้ มีอะไรดีขึ้นบ้าง มีแต่ผลเสียทุกอย่าง ญาติจะไปต่อว่าหรือรู้สึกไม่ดีต่อหมอ รพช.แน่นอน การพูดว่า “ทำไมมาช้าจัง ถ้ามาเร็วกว่านี้อาจจะรอด” เป็นคำพูดซึ่งหมอไม่ควรจะพูดเลย ไม่ว่าในกรณีใดๆ เนื่องจากมันไม่ได้ส่งผลให้อะไรดีขึ้นเลย กลับส่งผลทำให้มีการมองหาผู้ผิดซึ่งจะกลายเป็นแพะในกรณีนี้ ซึ่งอาจเป็นหมอที่รพช. หรืออาจเป็นพ่อแม่ที่ออกไปทำนา . . . → Read More: “ทำไมเพิ่งมาหาหมอ ถ้ามาเร็วกว่านี้อาจจะรอด”