By InMyMind, on June 26th, 2010
ในช่วงแรกๆที่น้องๆมาอยู่โรงพยาบาลชุมชน อาจจะรู้สึกงงๆ ปนเขินๆนิดหน่อยที่ ใครต่อใครเรียกเราว่าหมอใหญ่ ลุงป้า ตายายทั้งหลายที่มาโรงพยาบาลพากันให้ความเคารพน้อง บางคนก็ยกมือไหว้น้อง และเรียกว่าเป็นหมอใหญ่ น้องๆอาจคิดในใจว่าเราเองเป็นเพียงแพทย์พึ่งจบใหม่ เพิ่งออกมาทำงานปีแรก เป็นหมอเด็กๆเท่านั้นไม่ใช่เป็นหมอใหญ่ซะหน่อย แต่ในความเป็นจริงแล้วนะน้องๆ ในสถานที่ไกลๆ อย่างในโรงพยาบาลชุมชนที่น้องอยู่ มีแพทย์อยู่น้อย ชาวบ้านจะให้ความยกย่องพวกเราซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาก เพราะถือเป็นที่พึ่งที่สำคัญในชีวิต พวกเขาอาจจะเรียกเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลทุกคนว่าหมอ เรียกพยาบาลว่าหมอ เรียกเจ้าหน้าที่เปล เรียกเจ้าหน้าที่อื่นๆว่าหมอทั้งหมด และเรียกน้องซึ่งเป็นหมอจริงๆซึ่งได้รับปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิตว่า หมอใหญ่ จะเห็นว่าน้องเป็นบุคคลสำคัญมากในโรงพยาบาล และสำคัญมากในชุมชนที่น้องอยู่ น้องลองนึกดูก็ได้ว่าโรงพยาบาลชุมชนของน้องต้องรับผิดชอบคนทั้งอำเภอซึ่งอาจมีจำนวนประชากรถึง หลายหมื่นคน แต่มีหมอใหญ่เพียง 2-3 คนเท่านั้น
ความรับผิดชอบของน้องขณะถูกคนอื่นเรียกว่าหมอใหญ่ ดูจะมากมายจริงๆ ทุกคนล้วนฝากความหวังไว้กับน้องทั้งนั้น และน้องเองต้องรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อคนไข้ที่น้องรักษา เนื่องจากในโรงพยาบาลเล็กๆ ไม่เหมือนโรงเรียนแพทย์หรือโรงพยาบาลใหญ่ๆ ซึ่งจะมีหมอหลายระดับ ทั้ง นศพ. Extern Intern Resident 1,2,3 และยังมี Staff ,อาจารย์ attending อาจารย์ประจำหน่วยต่างๆอีกต่างหาก ซึ่งจะเป็นผู้รับผิดชอบในระดับที่อยู่สูงกว่าน้อง แต่ในโรงพยาบาลขนาดเล็กๆ พี่อยากจะบอกว่า บางครั้งน้องจะรู้สึกว่า น้องไม่มีที่พึ่งอะไรเลย มีแต่ตัวน้องและความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาเท่านั้น ที่จะเป็นที่พึ่งได้ เพราะน้องต้องรับผิดชอบในการรักษาคนไข้ของน้องอย่างเต็มที่ ไม่มีการ . . . → Read More: เราคือหมอใหญ่ ?
By InMyMind, on April 26th, 2010
เป็นอย่างไรบ้างครับ สำหรับภาคแรก จริงๆมีเนื้อหาอีกมากเกี่ยวกับใบรับรองแพทย์ พี่คิดว่าจะมีมากเกินไปเลยขอแบ่งมาพูดในบทนี้แทน เรื่องใบรับรองแพทย์นี่ ที่พี่ต้องพูดโดยละเอียดเพราะพี่ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเป็นแพทย์ โดยเฉพาะที่รพช.ในทุกๆวันจะต้องมีคนมาขอให้น้องออกใบรับรองแพทย์อยู่แล้ว แม้ว่าจะดูเป็นเรื่องเล็กๆ แต่เป็นเรื่องที่เกิดปัญหาได้บ่อยๆ และเป็นเรื่องที่แพทย์อย่างเราๆตกม้าตายมามากแล้ว ว่าแล้วเรามาดูกันต่อดีไหมว่ามีหลักการอะไรอีกบ้าง
6 อะไรที่รับรองไม่ได้ก็ไม่ต้องเขียน คำที่น้องเขียนลงไปทุกตัวอักษรในใบรับรองแพทย์จะเป็นหลักฐานอย่างดีในการยืนยันน้อง ดังนั้นเราควรเขียนเฉพาะสิ่งที่จำเป็นและเขียนเฉพาะที่เป็นจริงเท่านั้น อะไรที่ไม่แน่ใจหรือไม่รู้ไม่เห็น ไม่ควรเขียน เช่น ชายขี่ Mc ล้ม มารพ.มีแผลฟกช้ำตามตัว มาขอใบรับรองแพทย์บอกว่าให้หมอเขียนว่าเกิดจากอุบัติเหตุ ฯลฯ เวลาเราออกใบรับรองแพทย์ให้ เราออกได้แค่ว่า มีแผลอะไรกี่แผล แต่ไม่ต้องระบุไปว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เพราะเราไม่ทราบ เราไม่ใช่ประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ เราไม่ได้เห็นหรอกว่ามอเตอร์ไซด์เขาล้มจริงๆ เขาอาจจะไปชกต่อยมาก็ได้ แล้วมาโกหกหมอก็ได้ว่าเกิดจากมอเตอร์ไซด์ เพื่อจะได้ไม่ถูกทำโทษอะไรก็แล้วแต่ ดังนั้นขอให้จำไว้ว่าคำว่าอุบัติเหตุ เราไม่ควรเขียนลงไปในใบรับรองแพทย์เพราะเราไม่ได้เป็นคนเหตุเหตุการณ์ คนที่จะรู้ว่าเกิดจากอุบัติเหตุจริงหรือไม่คือเจ้าตัวเท่านั้น หมอรับรองไม่ได้ว่าเกิดจากอุบัติเหตุ กรณีที่หมอมักจะถูกขอร้องให้เขียนว่าเกิดจากอุบัติเหตุ คือกรณีเด็กนักเรียนซึ่งมักจะมีการทำประกันอุบัติเหตุที่โรงเรียน ดังนั้นเวลาเด็กหกล้มหัวแตก ครูมักจะมาขอหมอบอกว่าให้ออกว่าเกิดจากอุบัติเหตุ เราต้องจำไว้นะครับ เราลงได้แค่ว่า มีบาดแผลอะไร เราเขียนบอกไม่ได้ว่าเกิดจากอุบัติเหตุ เนื่องจากเราไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ ถ้าจำเป็นเราอาจจะเลี่ยงไปเขียนว่า ผู้ป่วยหรือญาติให้ประวัติว่าเกิดหกล้ม มอเตอร์ไซด์ล้ม เกิดอุบัติเหตุรถยนต์ฯลฯ แล้วตรวจพบว่ามีแผล…อะไรก็ว่าไป จะเห็นว่าเราต้องป้องกันตัวเอง เราไม่ได้เอาตัวเองเข้าไปรับรองว่าเกิดอุบัติเหตุ เราเอาตัวเอาอ้างว่า . . . → Read More: หลักทั่วไปในการออกใบรับรองแพทย์ ภาค 2
By InMyMind, on April 26th, 2010
ดังที่พี่บอกให้ฟังแล้วนะว่าใบรับรองแพทย์ เป็นเอกสารสำคัญ สามารถใช้ยืนยันหรือใช้เป็นหลักฐานในหลายๆเรื่องได้ ดังนั้นน้องต้องรอบคอบในการเขียนใบรับรองแพทย์ให้ดี เพราะใบรับรองแพทย์นั้นเองสามารถใช้เป็นหลักฐานยืนยันความผิดของน้องก็ได้ ซึ่งก็เคยมีแพทย์ต้องติดคุกเพราะใบรับรองแพทย์มาแล้วนะ ไม่ว่าจะเป็นใบรับรองแพทย์หรือ หนังสือหรือเอกสารใดๆก็ตามที่มีการลงลายมือชื่อของน้อง น้องต้องตั้งใจอ่านให้ดี และเขียนด้วยความตั้งใจ เพราะถือเป็นหลักฐานอย่างดีที่ยืนยัน หลักทั่วไปที่พี่อยากจะบอกในการออกใบรับรองแพทย์คือ
1 ห้ามออกใบรับรองแพทย์อันเป็นเท็จ เป็นหลักการข้อแรกเลยนะ ความจริงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่ควรจะรับรองอะไรที่เป็นเท็จ การออกใบรับรองแพทย์อันเป็นเท็จมีความผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่ง นอกจากนี้ยังมีความผิดในทางจริยธรรมอีกด้วย อาจจะถูกพิจารณาโดยคณะกรรมการจริยธรรมของแพทยสภาได้ การออกใบรับรองแพทย์อันเป็นเท็จมีหลายๆกรณี มีทั้งกรณีที่หมอจงใจกรอกข้อความอันเป็นเท็จว่าเขาเป็นโรคนั้น โรคนี้ ไม่ได้เป็นโรคนั้นโรคนี้ หรือในกรณีที่หมอรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่นการออกใบรับรองแพทย์สุขภาพดีให้กับคนอื่นซึ่งมาขอแทน โดยที่เจ้าตัวไม่ได้มา เช่นพ่อมาตรวจโรคและมาขอใบรับรองแพทย์ให้ลูกบอกว่าจะเอาไปทำใบขับขี่ ลูกก็ไม่ได้มา ถ้าหมอออกไป แล้วลูกเกิดเป็นคนวิกลจริตหรือเป็นคนพิการ ก็เท่ากับเป็นการออกใบรับรองแพทย์อันเป็นเท็จ ขอให้ระวังไว้
2 ถามจุดประสงค์ของผู้ที่เอาไปใช้เสมอ ทุกครั้งนะครับไม่ว่าใครจะมาขอใบรับรองแพทย์อะไรก็ตาม ควรจะถามเสมอว่าเอาไปใช้ทำอะไร ถามให้ละเอียดนิดหนึ่ง เช่นเอาไปสมัครทำงาน อาจจะถามต่อว่าไปสมัครทำงานอะไร ตำแหน่งอะไร หรือถ้าขอไปลาหยุดงาน ถามสักนิดว่าทำงานอะไร การถามจุดประสงค์ที่จะนำไปใช้แบบนี้จะช่วยน้องได้มากในการพิจารณา และต้องระวังไว้นิดหนึ่งนะครับว่า คำพูดที่บอกออกมาอาจจะเชื่อไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ในคนที่มีเจตนาไม่ดี อย่างไรก็ดีเมื่อเราถามเขาแล้วว่าจะเอาไปใช้ทำอะไรอย่าลืมบันทึกลงไปใน OPD card ด้วยนะ จะได้เป็นหลักฐานช่วยน้องเอง เผื่อเวลาเขาเอาไปใช้ในเรื่องที่ไม่ตรงกับที่บอกเรา
3 ไม่มีใครบังคับให้น้องออกใบรับรองแพทย์ได้ จำไว้นิดหนึ่งนะครับว่า ไม่มีกฎหมายข้อไหนบังคับไว้ว่าน้องต้องออกใบรับรองแพทย์ให้คนที่มาขอ ไม่มีระบุไว้เลย . . . → Read More: หลักทั่วไปในการออกใบรับรองแพทย์ ภาค 1