By InMyMind, on July 26th, 2010
ในสมัยก่อนแพทย์คือผู้รักษาชีวิต เป็นผู้ให้ มีความโอบอ้อมอารี มีเมตตากับคนไข้เสมอ ปัจจุบันภาพดังกล่าวไม่ค่อยได้ถูกกล่าวถึงอีกแล้ว สังคมปัจจุบันโดยเฉพาะสังคมเมืองไม่ได้มองภาพหมอเป็นผู้ให้โดยไม่หวังผลตอบแทนอีกต่อไป มองวิชาชีพแพทย์เป็นแค่อาชีพหนึ่งเท่านั้น เห็นแต่ภาพหมอเปิดคลินิกส่วนตัว โดยเฉพาะคลินิกเสริมสวย คลินิกความงาม ซึ่งมีขึ้นมากเป็นดอกเห็ด ติดป้ายประกาศเชิญชวน ประกาศราคาการรักษาในเชิงเสริมสวยกันอย่างเปิดเผย ทำให้ภาพพจน์ของแพทย์จากที่เคยเป็นผู้รักษาโรค รักษาชีวิต กลับกลายเป็นแพทย์ผู้รักษาความงามแทน ซึ่งทำให้ภาพพจน์แห่งความเป็นแพทย์ด้อยค่าลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นอกจากนี้ยังมีภาพอื่นๆอีกที่ทำให้หลายต่อหลายคนไม่สบายใจ เช่น ภาพหมอกลายเป็นนักธุรกิจ ซึ่งถ้าไม่ได้เอาความเป็น “นายแพทย์หรือแพทย์หญิง” ติดไปด้วยก็คงไม่เท่าไรนัก เพราะเป็นการประกอบอาชีพๆหนึ่ง แต่ในบางครั้งการทำธุรกิจบางอย่างก็ไม่เหมาะที่หมอจะทำเนื่องจากทำให้เกิดความขัดกันแห่งผลประโยชน์ เช่น หมอทำธุรกิจขายอาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ต่างๆ มันจะดูไม่ดีเลย แม้จะเป็นอาชีพสุจริตแต่ในฐานะของความเป็นแพทย์ซึ่งมีคนเชื่อถืออยู่แล้ว แต่กลับไปขายของต่างๆซึ่งตนเองมีผลประโยชน์ด้วย จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่สังคมจะมองภาพแพทย์ในแง่ลบมากขึ้น
นี่ยังไม่รวมถึงการที่มีปัญหาฟ้องร้องแพทย์มากขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเกิดจากความเข้าใจผิดในการสื่อสารระหว่างหมอกับคนไข้ เป็นความผิดประมาทของหมอ หรือเป็นเหตุสุดวิสัยจริงๆ ปัญหาการฟ้องร้องเหล่านี้ทำให้เกิดความสงสัย ไม่เชื่อถือในวิชาชีพแพทย์มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อไป คำถามตัวโตๆที่หลายฝ่ายอยากถามคือ ทำไมหมอถึงเปลี่ยนไปอย่างนี้ จริยธรรม จรรยาบรรณของแพทย์หายไปไหนหมด
ผมเชื่อนะครับว่าทุกวงการย่อมมีทั้งคนดีและคนไม่ดีปะปนกัน ผมเองคงไม่บังอาจเรียกร้องให้แพทย์ทุกคนดำรงตนให้เหมาะสมกับวิชาชีพ รวมทั้งไม่บังอาจเรียกร้องให้สังคมหันมามองแพทย์ในแง่ดีบ้าง แต่ผมอยากจะบอกว่า ยังมีแพทย์อีกมากครับซึ่งมีอุดมการณ์ มีจริยธรรม และปฏิบัติงานอย่างเป็นผู้ให้และเป็นผู้เสียสละอย่างแท้จริงอยู่ในสังคมไทย ท่านเหล่านี้มาอยู่มากมาย บางคนเป็นแพทย์ในชนบท บางคนอยู่ในเมือง หรือบางคนเป็นอาจารย์แพทย์ผู้ทุ่มเทสอนลูกศิษย์ให้เป็นแพทย์ที่ดี ท่านเหล่านี้ไม่เคยเรียกร้อง ไม่เคยเป็นข่าว . . . → Read More: หมอเปลี่ยนไป ?
By InMyMind, on July 20th, 2010
ผมไม่มีคำตอบให้นะครับ และไม่รู้จะไปหาได้ที่ไหน แต่ผมเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจนะครับว่า ในแต่ละวันจะต้องมีคนไข้จำนวนไม่น้อยอยู่ในภาวะที่เกือบตายหรือเฉียดตาย แต่หมอสามารถช่วยชีวิตให้รอดได้ทัน แล้วเหตุการณ์เหล่านี้เคยเป็นข่าวไหมครับ ว่าวันนี้มีการช่วยชีวิตคนให้รอดได้กี่รายที่โรงพยาบาลไหนบ้าง คำตอบคือไม่มีเลยครับ แต่ถ้ามีเหตุที่สงสัยว่าคนไข้จะตายเพราะหมอและญาตินำไปร้องเรียนตามสื่อต่างๆ รับรองได้ว่าต้องเป็นข่าวใหญ่แน่นอน
นี่เป็นปรากฏการณ์ที่จะถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาก็ได้ หรือจะถือว่าเป็นเรื่องแปลกก็ได้ ฝรั่งเคยมีคำพูดอยู่เหมือนกันว่า no news is a good news นั่นคือการไม่มีข่าวนั่นแหละเป็นข่าวดี เพราะเรื่องราวดีๆไม่ค่อยมีเป็นข่าว ข่าวส่วนมากจึงมีแต่เรื่องไม่ดี หนังสือพิมพ์เองก็ไม่อยากเขียนข่าวดีมากนักเพราะขายไม่น้อยและไม่เป็นที่นิยม นัยว่าเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ชอบหรือสนใจกับเรื่องร้ายๆมากกว่า
ผมว่าทำไมเราไม่ลองมาสร้างสังคมซึ่งเชิดชูสนับสนุนคนดี มีการชื่นชม อนุโมทนาเมื่อมีคนทำดี สนับสนุนคนดีให้อยู่ได้ในสังคม ผมเชื่อว่าในทุกๆวันมีเรื่องราวดีๆมากมายที่เกิดขึ้นในประเทศไทยของเรา . . . → Read More: วันหนึ่งมีคนไข้รอดชีวิตเพราะหมอกี่คน
By InMyMind, on July 17th, 2010
ถ้าจะถามผมนะครับว่าความบริสุทธิ์ของวิชาชีพแพทย์คืออะไร ผมว่าแพทย์จะต้องเป็นผู้ให้ เป็นผู้เสียสละ และเมตตาคนไข้ให้มากๆ โดยที่ไม่ควรคิดถึงผลประโยชน์ของตัวเองเลย เชื่อไหมครับ เงินหรือค่าตอบแทนเป็นสิ่งที่ผมกลัวมากที่สุดในความเป็นแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเงินนั้นได้มาจากคนไข้ ผมมักจะบอกกับคนใกล้ชิดเสมอว่า แพทย์ไม่ควรร่ำรวยด้วยวิชาชีพแพทย์ ผมคิดอย่างนั้นจริงๆและความคิดผมจะสุดโต่งเสียด้วยว่า หมอไม่ควรรับเงินจากคนไข้เลย
ช่วงแรกๆหลังจากจบแพทย์ใหม่ๆ ผมเคยทำงานเป็นแพทย์เวรดูแลคนไข้ในที่โรงพยาบาลเอกชน ซึ่งได้ค่าตอบแทนเหมือนๆกับโรงพยาบาลเอกชนทั่วๆไป ระบบค่าตอบแทนแพทย์เป็นสิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกขัดแย้งในตัวเองไม่น้อย เมื่อหมอถูกตามไปดูคนไข้ หรือแม้แต่ดู lab สามารถเก็บค่าปรึกษาได้ตามจำนวนครั้ง ในบางรายคนไข้มีอาการหนัก เราจำเป็นต้องไปดูหลายครั้ง ทำให้เราได้ค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น ไม่รู้สิครับ การที่เราไปดูคนไข้แล้วคนไข้ต้องจ่ายเงินให้เราเป็นสิ่งที่ผมลำบากใจมาก ผมเลยรีบยกเลิกการไปอยู่เวรดังกล่าวหลังจากอยู่ไปได้ไม่กี่ครั้ง
การตรวจคนไข้นอกที่โรงพยาบาลเอกชนก็เช่นกัน โดยปกติแพทย์สามารถคิดค่าตรวจ หรือค่า DF (doctor fee) ได้ตาม rate ของโรงพยาบาลนั้นๆ เช่น 200-300 บาทต่อคนไข้ 1 คน โดยเงินค่า DF ที่โรงพยาบาลเก็บจะไม่ได้เป็นรายได้ของหมอทั้ง 100% อาจถูกแบ่งให้พยาบาลและเจ้าหน้าที่ส่วนอื่นด้วยแล้วแต่โรงพยาบาลเช่น หมอได้ 80% พยาบาลได้ 20% ฯลฯ ผมเองเคยรับเวรตรวจ OPD ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งผมพอใจค่อนข้างมาก ไม่ใช่ว่าได้ค่าตอบแทนเยอะนะครับ แต่เป็นเพราะผมมีสิทธิ์ในเรียกเก็บค่า DF ได้ตามใจ คนไข้ส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลเอกชน จะไม่ได้เป็นผู้จ่ายเงินเอง แต่เป็นคนไข้ประกัน ซึ่งไม่มีปัญหาเราสามารถเรียกเก็บค่า DF . . . → Read More: เงินและความบริสุทธิ์ของวิชาชีพแพทย์ในทัศนะของผม