ทำไมถึงต้องเป็นฉัน (Why me?)

เชื่อแน่เลยครับว่าคำถามข้างต้นเป็นคำถามที่คนไข้หลายๆคนอยากจะถามหมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนไข้ที่เป็นโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น เป็นโรคมะเร็ง อัมพาต ฯลฯ เป็นต้น ทำไมถึงต้องเป็นเรา เราไม่ได้ทำอะไรเลย ฉันไม่เคยสูบบุหรี่ แล้วเป็นมะเร็งได้อย่างไร ผมออกกำลังกายมาตลอด ระวังในการกินมาตลอดทำไมถึงเป็นโรคหัวใจ ฯลฯ แม้ว่าคำถามนี้จะเกิดขึ้นในใจของคนไข้หลายๆคน แต่น้อยคนที่จะหลุดออกไปเป็นคำถามถามหมอ ซึ่งจริงๆแล้ว คำถามนี้นับว่าเป็นคำถามที่หมออย่างเราตอบยากที่สุดอีกคำถามหนึ่งครับ

ตอบอย่างตรงไปตรงมา ก็คือ ไม่มีใครรู้หรอกครับว่าทำไมคุณถึงเป็นโรคนั่นโรคนี้ แม้ว่าตามหลักวิทยาศาสตร์แล้วเราพอที่จะตอบอย่างมีหลักการได้ เช่น คุณมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ  ที่จะทำให้เกิดโรคคือ.1….2….3…4……ฯลฯ หรือคุณมีกรรมพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคได้ง่ายกว่าคนอื่น  ฯลฯ เช่น  ถ้ามีใครสักคนถามนะครับว่าทำไมถึงเป็นโรคเบาหวาน ตอบตามหลักก็อาจจะพูดว่า เพราะคุณอ้วน มีกรรมพันธุ์ กินหวานบ่อย ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย มีภาวะดื้อต่อ insulin ฯลฯ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เรียกเหตุปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดโรคว่าเป็นปัจจัยแบบ Multifactors

ซึ่งถ้าพิจารณาดูดีๆนะครับจะพบว่า ก็ไม่ใช่ว่าคนอ้วนทุกคนจะเป็นเบาหวาน หรือมีคนที่พ่อแม่เป็นเบาหวานทั้งคู่แต่เจ้าตัวก็ไม่ได้เป็นเบาหวานก็มี หรือในทางตรงกันข้าม คนผอม หรือคนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอก็เป็นเบาหวานได้ คำถามคือทำไม คำตอบจริงๆก็คือไม่รู้ แม้แต่โรคติดเชื้อต่างๆที่มีสาเหตุแน่ชัดเช่น โรคไข้เลือดออกเป็นต้น ทำไปบางคนถูกยุงที่มีเชื้อไข้เลือดออกแล้วไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อยมากจนไม่รู้ด้วยซ้ำว่ากำลังติดเชื้อไข้เลือดออกอยู่ ในทางตรงกันข้ามบางคนติดเชื้อเดียวกัน แต่มีอาการรุนแรง มีภาวะช๊อค มีเลือดออก รุนแรงมากจนเสียชีวิตได้ คำถามคือทำไม ตอบให้ดูดีก็ได้ครับตามหลักการ เช่น พอดีคนไข้เป็นการติดเชื้อครั้งที่ 2 ซึ่งภูมิคุ้มกันจะมีมาก และทำให้เกิดการรั่วของสารน้ำ ฯลฯ ถ้าถามต่อไปเรื่อยๆว่า ทำไม และทำไมบางคนเป็น บางคนไม่เป็น ทำไมบางคนเป็นมากน้อยต่างกัน ไล่ๆไปก็ต้องยอมรับครับ ว่าไม่รู้ 

ลองอ่านข้อความข้างล่างจาก “The Doctor” ดูสิครับ

 

Why me?

         Once, when one of my patients in the hospital moaned, “Why me?  Why did God do this to me?” her roommate responsed, “Why not you? Should it have been me?”   I find, however, that when I watch television or listern to the radio, even though I know better, I’m like other humans, and I ask myself, “Why can’t I talk like this? Why are their voice so clear and mine so raspy?”
         From the beginning of time theologians have been wrestling with the question, “Why me?” When I think of my patients who have been afflicted, I know it is arrogant of me to ask “Why me?”   Once I said to a patient, “I’m not God”. but I really didn’t believe that. If I did, how could I have deligated to myself immortailty ? How could I have thought, “It won’t happen to me?”
          To me, illness is not something that people deserve. It is not part of an orderly process that follows rules, instead, it appears to be a matter of random choice, a matter of luck, like losing in a lottery instead of winning. How else to account for the unfairness of it all?

มีอีกตอนหนึ่งในหนังสือที่ผมพอจำได้คือ มีครั้งหนึ่งมีคนไข้ถาม Dr. Edward ว่า ทำไมถึงปวดเข่าข้างขวา (หรือซ้าย จำไม่ได้แน่ชัดครับ) มานาน Dr. Edward ตอบว่า เพราะอายุมากเป็นโรคเข่าเสื่อม (OA Kneee) คนไข้พูดว่าไงรู้ไหมครับ เขาถามต่อว่า หมอผมมีเข่า 2 ข้าง ถ้ามันเสื่อมก็น่าจะเสื่อมพร้อมๆกันสิ ทำไมถึงเป็นข้างเดียวได้ อืมม.. นั่นสิ ถ้าจะหันหาทางวิทยาศาสตร์ต่อ ก็ต้องตอบหรือหาเหตุผลว่า เพราะมีการลงน้ำหนักข้างนั้นมากกว่าอีกข้างหนึ่ง ฯลฯ ก็พอจะไปได้  แต่จริงๆเป็นเช่นนั้นจริงหรือเปล่า ไม่มีใครรู้ครับ

หันมายังคำถามเดิมคือ why me? ทำไมต้องเป็นฉัน/ผม ถ้ามองในแง่พุทธศาสนา ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีเหตุ การที่เราไม่เหตุเห็นหรือไม่รู้เหตุไม่ได้แปลว่าเหตุไม่มี โรคร้ายแรงต่างๆย่อมเป็นผลมาจากกรรมเก่าทั้งสิ้น ถ้ามองทุกอย่างให้เป็นเรื่องของกรรมวิบาก ก็จะได้คำตอบชัดเจนครับ โรคที่ร้ายแรง มีความลำบาก มีความทุกข์ทรมานมาก ย่อมมาจากกรรมดำที่รุนแรง โรคหรือการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรงหรือหายได้ ก็มักจะเกิดจากกรรมดำ ซึ่งไม่รุนแรงมากนัก และมีอิทธิพลของกรรมขาวมาช่วยไว้ ในแง่มุมนี้ ผมเชื่อ 100% เลยครับ กฎแห่งกรรมเป็นกฎที่แน่นอน และเป็นกฎเหล็กของสังสารวัฏนี้ 

มีอีกคำที่ผมชอบมากครับคือ ไม่แน่ใจว่าอ่านเจอจากหนังสือของคุณดังตฤนหรือเปล่าว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณได้รับในวันนี้ ย่อมสมควรแก่เหตุที่คุณเคยกระทำไว้เสมอ ดังนั้น ถ้าอยากจะได้ผลที่ดี ต้องทำเหตุดี

Leave a Reply

 

 

 

You can use these HTML tags

<a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>