ทำไมต้องมาอยู่ รพช.

 น้องๆหลายคนที่ต้องมาใช้ทุนอาจมีคำถามว่าทำไมต้องส่งแพทย์ที่เพิ่งจบใหม่ หรือเรียกว่าแพทย์ใช้ทุนออกไปทำงานที่รพช.ด้วย คำตอบสั้นๆง่ายๆและตรงไปตรงมาที่สุดก็คือ ถ้าไม่ส่งพวกน้องไปทำงานที่รพช. และใครล่ะจะมาทำงานที่รพช.  เนื่องจากประเทศของเรายังมีปัญหาขาดแคลนแพทย์อีกมาก โดยเฉพาะแพทย์ในชนบท แพทย์ส่วนใหญ่ของประเทศทำงานอยู่ในกรุงเทพหรือในเมืองใหญ่ๆ ทำให้การกระจายของแพทย์ไม่ดี ในชนบทท้องถิ่นห่างไกลมักจะไม่มีแพทย์ดูแล หรือแพทย์มีจำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เช่นในบางอำเภอมีประชากร 30,000-40,000 คน มีโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียงเพียง โรงพยาบาลเดียว และมีแพทย์เพียงคนเดียวประจำอยู่ น้องๆจะเห็นว่าแพทย์หนึ่งคนต้องรับผิดชอบคนไข้หลายหมื่นคน ตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นเรื่องที่หนักมากเหมือนกัน  ต้องยอมรับว่าแพทย์ส่วนใหญ่เป็นผู้คนในสังคมเมือง โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ในชนบท การดำรงชีวิตอยู่ ครอบครัว ญาติๆก็อยู่ในเมืองเป็นส่วนใหญ่ ทำให้แพทย์ที่ทำงานในรพช. ส่วนมากอยู่ได้ไม่กี่ปี เพราะไม่คุ้นเคยกับสภาพชนบท รู้สึกอยู่ไปๆก็ตรวจแต่คนไข้ OPD ง่ายๆ ไม่มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ พอใช้ทุนครบก็มักจะกลับมาเรียนต่อ หรือขอโยกย้ายมาใกล้บ้าน หรือลาออก ทำให้แพทย์ในชนบทยิ่งขาดแคลนมากขึ้น น้องๆลองคิดดูว่าถ้าเขาไม่ได้บังคับน้องๆให้ออกมาใช้ทุนในโรงพยาบาลชุมชนแล้ว แล้วใครจะมาเป็นแพทย์ตรวจในโรงพยาบาลชุมชนล่ะ เพราะทุกคนมุ่งเข้ามาหาความเจริญ ความก้าวหน้าในวิชาชีพในเมืองทั้งนั้น ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในชนบทจึงยิ่งรุนแรงมากขึ้น

             แต่โรงพยาบาลชุมชนก็ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายหรืออยู่ไม่ได้หรอกนะน้องๆ  สิ่งที่ดีๆก็มีอยู่มากในรพช. ซึ่งช่วงเวลาที่น้องๆมาใช้ทุนในรพช.น้องๆจะได้รับประสบการณ์หลายๆอย่างมาก . . . → Read More: ทำไมต้องมาอยู่ รพช.

โรงพยาบาลชุมชนคืออะไร อะไรคือโรงพยาบาลชุมชน

 สำหรับน้องๆที่ยังไม่คุ้นเคยกับระบบสาธารณสุขเมืองไทย อาจมีคำถามง่ายๆ ซึ่งบางครั้งไม่กล้าถามออกมาตรงๆ คือ โรงพยาบาลชุมชนคืออะไร ต่างจากโรงพยาบาลอำเภอหรือเปล่า การจะตอบคำถามนี้ น้องๆคงต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบสาธารณสุขของเมืองไทยปัจจุบันก่อน (ซึ่งกำลังจะเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้ เพราะมีเรื่องการกระจายอำนาจ การปฏิรูประบบสาธารณสุข)     โรงพยาบาลของรัฐในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยให้บริการด้านสาธารณสุขของประเทศ มีอยู่ 3 ระดับคือ          

1 โรงพยาบาลศูนย์ คือโรงพยาบาลขนาดใหญ่ มีเครื่องไม้เครื่องมือพร้อม มีแพทย์ specialist ทุกสาขาอยู่ โรงพยาบาลนี้มักจะเป็นศูนย์กลางให้จังหวัดใกล้เคียง Refer case ที่ยุ่งยากซับซ้อนมาให้ ตัวอย่างโรงพยาบาลศูนย์ก็เช่น โรงพยาบาลพุทธชินราช ซึ่งรับดูแลคนไข้ในจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ ฯลฯ โรงพยาบาลศูนย์สระบุรี โรงพยาบาลศูนย์ลำปาง ฯลฯ

2 โรงพยาบาลทั่วไป หรือก็คือโรงพยาบาลประจำจังหวัดนั่นเอง คือในเขตอำเภอเมืองของจังหวัดทุกจังหวัด จะมีโรงพยาบาลประจำจังหวัดอยู่ ซึ่งมีศักยภาพมากพอสมควรในการดูแลคนไข้ในเขตจังหวัด ดังนั้นในทุกจังหวัด จะมีโรงพยาบาลทั่วไปอย่างน้อย 1 แห่งในจังหวัด แต่ในบางจังหวัด อาจมีเป็นโรงพยาบาลศูนย์เลยก็ได้ เช่นจังหวัดพิษณุโลกไม่มีโรงพยาบาลทั่วไป แต่มีโรงพยาบาลศูนย์เลย และในบางจังหวัดอาจมีโรงพยาบาลทั่วไปมากกว่า 1 แห่งก็ได้ . . . → Read More: โรงพยาบาลชุมชนคืออะไร อะไรคือโรงพยาบาลชุมชน

การอยู่ท่ามกลางความจำกัด

ความจำกัด เป็นสิ่งที่น้องๆจะได้พบแน่นอนที่โรงพยาบาลชุมชน เราไม่อาจหวังถึงความเท่าเทียมกันในทุกๆอย่างได้ในโลกนี้ โรงพยาบาลก็เช่นกัน โรงพยาบาลชุมชนเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก ซึ่งหมายความว่าเล็กทุกอย่าง เล็กทั้งทรัพยากร บุคคลากร พื่นที่ เครื่องไม้เครื่องมือ ยา เวชภัณฑ์ Lab X ray โรงพยาบาลเล็กๆย่อมมีสิ่งต่างๆน้อยกว่าโรงพยาบาลใหญ่ๆอย่างเห็นได้ชัด ยิ่งน้องเพิ่งจบจากโรงเรียนแพทย์ ซึ่งนับว่าเป็น Medical center ติดอันดับในประเทศไทย เครื่องไม้เครื่องมือ ยาต่างๆย่อมดีกว่าโรงพยาบาลชุมชนแบบไม่เห็นฝุ่น

ยกตัวอย่างง่ายๆ ห้องLabที่ โรงพยาบาลชุมชนของน้องๆหรือมี antibiotic ให้น้องใช้ได้ไม่กี่ตัวเอง น้องคงต้องปรับตัวให้ได้ ภายใต้ความจำกัดขนาดนี้อาจทำ Lab ได้เพียงไม่กี่อย่าง เช่นทำได้เพียง CBC,UA,BS,Stool exam, sputum exam, ได้เพียงเท่านี้ น้องไม่สามารถส่ง Lab อื่นๆได้ แบบที่เคยส่งได้ในโรงเรียนแพทย์ เช่นน้องไม่สามารถส่ง Electrolyte, Liver function test, Ca, Mg, culture ทั้งหลายได้ ซึ่งตอนแรกๆน้องไม่ชิน อาจจะรู้สึกอึดอัดมากในโรงพยาบาลชุมชน ว่าไอ้นั่นก็ไม่มีไอ้นี่ก็ไม่มี ยาก็มีเพียงไม่กี่ชนิด ยาที่น้องเคยใช้ที่โรงเรียนแพทย์หลายๆตัวไม่มีที่โรงพยาบาลชุมชน เช่น . . . → Read More: การอยู่ท่ามกลางความจำกัด