“Record q 1 hr !! หมอทำเองก็แล้วกัน”

อัตรากำลังของพยาบาลในวอร์ดคนไข้ก็มีน้อย งานก็เยอะ ทำให้น้องอาจจะได้ยินคำกล่าวนี้ออกจากพยาบาลในยามหงุดหงิดได้ เช่นคนไข้ในวอร์ดมีตั้งเกือบ 30 คน ในเวรดึกมีพยาบาลวิชาชีพเพียงคนเดียวเท่านั้น จะให้เขามานั่ง Record BP q 1 hr, record อะไรต่ออะไรมากๆ ย่อมทำไม่ได้แน่ การสั่ง order เหมือนกับอยู่ที่โรงเรียนแพทย์จึงต้องระวังให้มาก ต้องนึกถึงใจเขาใจเรา และอย่าลืมนึกถึงคนไข้ด้วย การดูแลคนไข้ในที่ๆจำกัดทั้งทรัพยากรและบุคคลกรย่อมจะส่งผลเสียต่อคนไข้แน่ น้องๆอาจคิดว่าโรคแค่นี้เราสามารถดูแลได้ เช่นคนไข้ septic shock และน้องทำ cut down ให้ antibiotics แล้ว กำลังจะลอง challenge volume ดู น้องสั่งวัด BP q 15 min,Record urine output, CVP q 1 hr คงไม่ได้ หรือคงสั่งได้แต่ไม่มีใครทำให้น้องหรอก เครื่อง automated วัด BP ในโรงพยาบาลเล็กๆไม่มีแน่  พยาบาลต้องเดินมาวัดตลอด ไหนต้องตวง . . . → Read More: “Record q 1 hr !! หมอทำเองก็แล้วกัน”

ไม่มั่นใจ / มั่นใจมาก

ในช่วงแรกๆที่น้องมาทำงานคงจะเคยพบความไม่มั่นใจหรือไม่แน่ใจ เพราะน้องเองยังมีประสบการณ์น้อยในการรักษาคนไข้ อาจจะไม่เคยรักษาคนไข้ case แบบนี้ด้วยตัวเองมาก่อน หรือไม่เคยสั่งยานี้ด้วยตัวเองมากก่อน ทำให้เกิดความ “ไม่มั่นใจ” ขึ้นมา ซึ่งปกติแล้วคนเรามักจะต้องหาอะไรบางอย่างทำให้ตัวเรามั่นใจมากขึ้น เช่นถามเพื่อน ถามพี่ เปิดหนังสือ ฯลฯ ซึ่งก็นับว่าเป็นสิ่งดี เพราะถ้ามีใครยืนยันว่าน้องคิดถูกแล้ว น้องจะเริ่มมีความมั่นใจมากขึ้น ในการสั่งการรักษาใดๆลงไป ในบางรายน้องอาจจะมั่นใจระดับหนึ่งก็คิดว่าจะลองดูลองให้ดู หรือว่ารู้สึกคุ้นๆ หรือรู้สึกลังเลว่าจะถามพี่ดีไหน หรือไม่ถามดีกว่า

เรื่องไม่มั่นใจหรือความมั่นใจมากเกินนี่เป็นสิ่งที่สำคัญในการเป็นแพทย์ที่ดี  เราไม่ควรจะเอาชีวิตคนไข้ไปเสี่ยงกับอะไรก็ตามที่เราเองยังไม่แน่ใจเลยว่าจะส่งผลดีต่อคนไข้ การยอมเสียเวลาเล็กน้อย ยอมเสียหน้า ลดอัตตาตัวเองลงมาหน่อย เพื่อให้คนไข้ปลอดภัยเป็นสิ่งที่ควรกระทำ ในทำนองเดียวกัน เราก็ต้องมีความมั่นใจในตัวเองบ้าง มั่นใจในความรู้ความสามารถของเราที่ร่ำเรียนจนได้พ.บ.มา ไม่ใช่อะไรๆก็ต้องถามพี่ตลอด และก็อีกนั่นแหละ ไอ้ประเภทที่มั่นใจเกินไปก็ไม่ไหวเหมือนกัน แหมท่านจะทำหัตถการบางอย่างที่ตัวเองไม่เคยแม้กระทั่งช่วย หรือทำโดยมีคนคุม แค่เคยเห็นมาครั้งเดียวก็จะลองทำโดยอ้างว่ามั่นใจว่าทำได้เพราะเคยเห็นมาครั้งหนึ่งแล้ว พี่ว่ามันก็เกินไป อย่างนั้นออกจะกล้ามากออกไปทางบ้าบิ่นด้วยซ้ำ

จะทำอะไรขอให้คิดถึงคนไข้เป็นหลัก การคิดว่าคนไข้เป็นญาติเราก็เป็นทางออกที่ดี เราจะได้ลองมาคิดดูว่าเราสมควรจะให้ญาติเราเสี่ยงแบบนั้นหรือเปล่า หรือเราน่าจะแน่ใจก่อนดีไหมแล้วค่อนทำอะไรลงไป . . . → Read More: ไม่มั่นใจ / มั่นใจมาก

ที่โรงพยาบาลชุมชนมีอะไร

โรงพยาบาลชุมชนเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก น้องๆหลายคนก่อนที่จะออกมาใช้ทุนอาจจะเคยมีประสบการณ์ในโรงพยาบาลระดับนี้มากก่อนในตอนออกเวชศาสตร์ชุมชน คงจะพอนึกภาพออกนะครับ โรงพยาบาลชุมชนส่วนใหญ่ มีขนาดเล็กๆ มีตึกอยู่เพียงไม่กี่ตึก มีเจ้าหน้าที่อยู่ไม่มาก ส่วนใหญ่จะรู้จักกันดี และปฏิบัติงานกันมานานแล้ว สำหรับน้องซึ่งถือเป็นน้องใหม่ในโรงพยาบาล พี่ๆที่ทำงานอยู่แล้วส่วนใหญ่จะให้การต้อนรับ และเป็นกันเองกับน้องๆ โดยผู้อำนวยการโรงพยาบาล อาจจะพาน้องๆเดินดูฝ่ายต่างๆ พบเจ้าหน้าที่ในฝ่ายนั้นๆ เพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยให้ แต่ในช่วงแรกๆน้องๆอาจจะยังงงๆว่าใครเป็นใคร และห้องต่างๆอยู่ตรงไหน ก็ไม่เป็นไร นานวันเข้าน้องๆจะคุ้นเคยเอง

โรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กๆส่วนใหญ่ จะมีตึกเพียงไม่กี่ตึก ทุกโรงพยาบาลที่มีขนาดเดียวกันจะมีการออกแบบที่เหมือนกัน เพราะเป็นแปลนจากกระทรวง โดยทั่วไปจะมีตึกผู้ป่วยนอก ซึ่งจะรวมเอาห้องตรวจ OPD ห้องจ่ายยา ห้องชันสูตร ห้องเอ๊กซ์เรย์ และห้องฉุกเฉินอยู่ด้วยกัน และอาจมีห้องคลอด ห้องผ่าตัด อยู่ข้างๆ หรืออยู่ทางส่วนหลังของตึกนี้ นอกจากตึกผู้ป่วยนอกแล้วยังมีตึกผู้ป่วยในอยู่หรือที่เราเรียกกันว่า Ward ซึ่งถ้าเป็นโรงพยาบาลขนาด 10,30 เตียง จะมีอยู่เพียง Ward เดียว โดยจะเป็น ward รวม ไม่มีการแยกประเภทของผู้ป่วย เด็กและผู้ใหญ่อยู่ตึกเดียวกัน ผู้หญิงและผู้ชายอยู่ตึกเดียวกัน แต่อาจจะคนละด้าน โดยปกติแล้ว ward ผู้ป่วย 1 ward จะสามารถรองรับผู้ป่วยได้ 30 . . . → Read More: ที่โรงพยาบาลชุมชนมีอะไร