By InMyMind, on April 26th, 2010%
“หมอ ขอไปรักษาต่อในเมือง”, “ลุงไปรักษาในเมืองเถอะ เดี๋ยวหมอจะเขียนใบส่งตัวไปให้นะ” เป็นคำพูดที่น้องจะต้องได้คุ้นแน่นอนเมื่อน้องเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน รพ.ชุมชนเป็นเพียงโรงพยาบาลประจำอำเภอเล็กๆ โรงพยาบาลชุมชนไม่สามารถรักษาได้ทุกโรค บางโรคต้องการการตรวจเพิ่มเติมหรือการรักษาที่เฉพาะหรือการผ่าตัดที่ยุ่งยาก น้องสามารถจะส่งต่อหรือที่เรียกกันว่า Refer คนไข้ไปยังโรงพยาบาลที่มีความพร้อมมากกว่า โดยน้องต้องเขียนใบ Refer ซึ่งเป็นใบส่งตัวคนไข้ ซึ่งจะต้องเล่ารายละเอียดและข้อมูลของคนไข้ในความดูแลของน้อง และบอกสาเหตุการ Refer ว่า Refer ด้วยสาเหตุอะไร โดยปกติแล้ว น้องซึ่งเป็นแพทย์จะต้องแยกแยะให้ได้ว่าคนไข้คนไหนหนักหรือต้องการการตรวจเพิ่มเติม จะต้องส่งต่อไปยังจังหวัด คนไข้ไหนที่สามารถรักษาที่โรงพยาบาลเราได้
ทีนี้ก็เมื่อน้องเขียนใบ Refer เสร็จแล้ว ก็ให้คนไข้ถือไปโรงพยาบาลจังหวัด โดยการไปโรงพยาบาลจังหวัดนั้นมีได้ 2-3 ทางใหญ่ๆ คือการให้คนไข้ไปขึ้นรถโดยสารไปเอง หรือให้คนไข้ไปหารถเองเอง หรือใช้รถโรงพยาบาลไป การจะเลือกไปโดยวิธีนี้ก็แล้วแต่สภาพคนไข้ ญาติ และการตัดสินใจของแพทย์ ในรายที่มีอาการหนัก สาหัส ต้องการการส่งตัวไปรักษาทันที น้องสามารถที่จะเรียกใช้รถโรงพยาบาลไปได้ โดยปกติแล้วรถโรงพยาบาลจะมีเตรียมพร้อมตลอด 24 ชม. โดยน้องอาจให้พยาบาลโทรตามคนขับรถ และอาจจะตามพยาบาลเวร Refer ด้วย พยาบาลเวร Refer คือพยาบาลที่อยู่เวร On call ที่จะไปกับรถ Refer เมื่อมี case . . . → Read More: Refer / Not Refer
By InMyMind, on April 26th, 2010%
นาฬิกาคนไข้ นาฬิกาคุณ
คนไข้รู้สึกว่า คอยนานแล้ว ในขณะที่คุณรู้สึกว่า แป้บเดียวเอง ใช่หรือไม่
คนไข้รู้สึกว่า ป่วยมาก ในขณะที่คุณรู้สึกว่า นิดเดียวไกลหัวใจ ใช่หรือไม่
คนไข้รู้สึกว่า ที่นี่หลงทางได้ง่าย ในขณะที่คุณรู้สึกว่า หลับตาเดินได้เลย ใช่หรือไม่
คนไข้รู้สึกว่า คุณแปลกหน้า ในขณะที่คุณรู้สึกว่า เขาเหมือนกันทุกคน ใช่หรือไม่
พี่ได้เห็นและอ่านข้อความข้างต้นในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง พี่ว่าน่าสนใจมากนะ สามารถทำให้เราฉุกคิดขึ้นมาได้ บางครั้งเราทำงานไปนานๆเข้า เราจะทำเป็นอัตโนมัติ เราจะเริ่มละเลยความเป็นคนของคนไข้ลงไป ลืมความเป็น Individual เราจะเริ่ม label เขาด้วยศัพท์ทางการแพทย์ต่างๆ ซึ่งเรามักทำกันไปโดยไม่รู้ตัว บางครั้งพวกเราทำถึงขนาดเรียกคนไข้เป็น caseๆ ไม่ได้เรียกชื่อคนไข้ เวลาคุยกันก็บอกว่า case DM, case epilepsy, case TB ฯลฯ ตอนที่เราพูดๆกันอยู่เรามักไม่นึกอะไรหรอก แต่ถ้าลองมาคิดดูดีๆ เรากำลังริดรอนสิทธิความเป็นคนของเขาลงไปมาก จริงๆเรากำลังรักษาคุณลุง….ป่วยเป็นโรควัณโรค ไม่ใช่รักษาลุงTB
มีคำกล่าวว่าสิทธิความเป็นคนจะถูกริดรอนไปตั้งแต่ก้าวเท้าเข้ามาในโรงพยาบาล เป็นคำกล่าวซึ่งสะท้อนความจริงส่วนหนึ่งที่ชาวบ้านมองเห็นและรู้สึก หมอและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์อื่นๆรู้สึกว่าเป็นเรื่องง่ายๆชินแล้ว เป็น routine ในการประพฤติปฏิบัติบางอย่าง เช่นคนไข้หกล้มหัวแตกมา พยาบาลที่ ER อาจไม่ได้ให้ความสนใจอะไรมาก . . . → Read More: นาฬิกาใจของใครเต้นแรงกว่ากัน
By InMyMind, on April 26th, 2010%
อ่านมาหลายบทแล้ว น้องคงยังไม่เบื่อนะ เรื่องราวของหมอในโรงพยาบาลชุมชน ยังมีอีกมากที่น่าสนใจ เพราะเป็นช่วงชีวิตที่น้องจะได้รับประสบการณ์อะไรเยอะมาก ประกอบกับน้องพึ่งจะจบการศึกษา ออกมาทำงานเป็นครั้งแรก ต้องห่างจากพ่อแม่ผู้ปกครอง มาดำเนินชีวิตเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว เชื่อว่าน้องๆทุกคนที่ผ่านชีวิตการเป็นแพทย์ใช้ทุนจะมีเรื่องเล่าสนุกๆมากมาย เหมือนกับช่วงชีวิตที่เป็นนศพ. เป็น Extern ถ้าน้องๆคนไหนสนใจในเรื่องการขีดๆเขียนๆ ก็ลองบันทึกประสบการณ์ต่างๆในช่วงนี้ดูนะ ไว้ตอนแก่ๆมาอ่านดูจะสนุกมากเลย และอาจเก็บไปเป็นวัตถุดิบในการเล่าให้ลูกๆหลานๆฟังก็ได้ (แต่เล่าแล้วเขาจะสนใจฟังหรือเปล่าก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ)
วันนี้พี่จะเล่าให้ฟังถึงชีวิตของหมอใหญ่นอกเวลางาน ปกติแล้วแพทย์จะทำงานเหมือนข้าราชการทั่วไปคือเข้างาน 8โมงครึ่ง เลิกงาน 4 โมงครึ่งตอนเย็น ถ้าน้องไม่ได้เป็นเวรก็จะว่างตั้งแต่4โมงครึ่งแล้วล่ะ เวลาที่เหลือก็เป็นเวลาพักผ่อนของน้องๆ จะเห็นว่าเวลาว่างของน้องค่อนข้างจะมีมาก ทีนี้ก็แล้วแต่แต่ละคนนะว่าจะใช้เวลาที่เหลือทำอะไร ถ้าน้องสามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ได้ดี เท่ากับน้องเตรียมการไปสู่อนาคตได้ดีเช่นกัน เช่นน้องบางคนตั้งจะจะเรียนต่อเป็นหมอเฉพาะทางด้านต่างๆ ถ้าน้องได้ศึกษาหาความรู้ในช่วงเป็นแพทย์ใช้ทุน อ่านหนังสือ Harrison, Scwartz, Nelson ฯลฯ ถ้าอ่านได้มากก็จะไปไกลกว่าเพื่อนๆนะ มีความรู้อยู่กับตัวมากขึ้น หรือถ้าน้องอยากทำงานสายบริหาร อาจจะใช้เวลาที่เป็นแพทย์ใช้ทุนศึกษางานในโรงพยาบาล ศึกษาหน่วยต่างๆในโรงพยาบาล เข้าประชุมต่างๆในโรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่น้องได้มากเช่นกัน
ชีวิตของน้องไม่ได้มีเฉพาะในโรงพยาบาลเท่านั้น น้องต้องออกไปนอกโรงพยาบาลบ้าง อย่างน้อยก็เวลาไปกินข้าวเย็น หรือไปจ่ายตลาด แต่ในสังคมชนบท น้องจะพกคำว่าหมอใหญ่ติดตัวน้องไปตลอด เพราะเมืองมันแคบ ไม่เหมือนในกรุงเทพมหานคร หรือในเมืองใหญ่ๆ เมื่อก่อนพวกเราอาจจะออกจากเวรตอนเป็น Extern เสร็จ ก็ไปเที่ยวห้างเดินห้างตามประสาวัยรุ่น ไปเล่นเกมตู้บ้าง . . . → Read More: มาดหมอใหญ่นอกโรงพยาบาล