ความรู้หดหายหมด ในรพช.!

บางครั้งน้องๆคงเคยได้ยินพี่ๆที่รพช.บ่นว่า อยู่ที่บ้านนอกนานๆแล้ว ความรู้หดหายหมด พี่ๆมักจะพูดว่า ที่นี่มีแต่ case ง่ายๆ ส่วนใน case ที่ยากๆส่วนใหญ่ เราก็ทำอะไรไม่ค่อยได้ ต้อง Refer หมด เลยไม่มีโอกาสได้ดู case ต่อ โรงเรียนแพทย์นั้นที่เราเพิ่งได้เรียนจบกันมา เป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญ แต่มักจะเป็นแหล่งรวมของ Case ที่ยากๆ ที่มีปัญหา และพบค่อนข้างน้อยในเวชปฏิบัติทั่วไป แต่เนื่องจากโรงเรียนแพทย์นั้นนับว่าเป็น Medical Center สามารถดูแล Tertiary care ได้ จึงเป็นแหล่งรับ Refer case ยากๆมาเสมอ แต่น้องต้องอย่าลืมว่า Incidence จริงๆของโรคที่เจอในโรงเรียนแพทย์นั้นไม่มากหรอก

ยกตัวอย่างเช่นคนไข้ใน Ward med ที่โรงเรียนแพทย์ อาจจะมี case พวก SLE, Vulvular heart disease, leukemia, UGIH, Septic shock, DKA, Hypertensive crisis, Endocarditis, . . . → Read More: ความรู้หดหายหมด ในรพช.!

“ทำไมเพิ่งมาหาหมอ ถ้ามาเร็วกว่านี้อาจจะรอด”

 จรรยาแพทย์มีข้อหนึ่งที่สำคัญ นั่นคือการไม่ให้ร้ายผู้ประกอบวิชาชีพเดียวกัน ไม่ทำให้วงการแพทย์ต้องเสื่อมเสีย เว้นแต่จะทำโดยตามบทบัญญัติแห่งกฏหมายหรือเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม การให้ร้ายแพทย์ด้วยกันเป็นสิ่งที่น่าเกลียด ไม่ควรจะทำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการนินทาแพทย์หรือ Blame แพทย์ด้วยกันให้ผู้ป่วยฟัง เพื่อหวังให้ตัวเองได้ Credit เพราะคนไข้จะไม่เข้าใจและจะเชื่อหมอที่อยู่ที่โรงพยาบาลใหญ่กว่าเสมอ ทำให้มีเรื่องฟ้องร้องกันมาก

ตัวอย่างง่ายๆเช่น คนไข้ Case Head injury ที่นอน Observe ที่รพช. ปรากฎว่า score drop ลง จึง Refer มา แต่มาถึงโรงพยาบาลจังหวัด ทำ CT แล้ว ปรากฏว่าคนไข้ score drop  เหลือ = 3 ผ่าไม่ได้แล้ว หมอที่จังหวัดถ้าพูดว่า ผ่าไม่ได้แล้ว เพราะมาช้าเกินไป ถ้ามาเร็วกว่านี้อาจจะรอดก็ได้ ลองคิดดูว่าการพูดเช่นนี้ มีอะไรดีขึ้นบ้าง มีแต่ผลเสียทุกอย่าง ญาติจะไปต่อว่าหรือรู้สึกไม่ดีต่อหมอ รพช.แน่นอน การพูดว่า “ทำไมมาช้าจัง ถ้ามาเร็วกว่านี้อาจจะรอด” เป็นคำพูดซึ่งหมอไม่ควรจะพูดเลย ไม่ว่าในกรณีใดๆ เนื่องจากมันไม่ได้ส่งผลให้อะไรดีขึ้นเลย กลับส่งผลทำให้มีการมองหาผู้ผิดซึ่งจะกลายเป็นแพะในกรณีนี้ ซึ่งอาจเป็นหมอที่รพช. หรืออาจเป็นพ่อแม่ที่ออกไปทำนา . . . → Read More: “ทำไมเพิ่งมาหาหมอ ถ้ามาเร็วกว่านี้อาจจะรอด”

คนไข้ตายในรพช.ไม่ได้นะเดี๋ยวมีเรื่อง

น้องบางคนคงเคยได้ยินคำพูดนี้ ซึ่งมักจะเป็นแพทย์รุ่นพี่เล่าให้ฟัง ซึ่งก็เป็นความจริงอยู่บ้างแล้วแต่กรณีนะ คงจะไม่เป็นอย่างนั้นทุกกรณีหรอก คำพูดที่ว่าให้ตายไม่ได้ เนื่องจากว่าชาวบ้านในอำเภอไกลๆส่วนหนึ่งมักจะคิดว่ารพช.เป็นโรงพยาบาลชั้น 2 ไม่สามารถดูแลญาติเขาได้ดีเท่าที่ควร ยังมีโรงพยาบาลจังหวัดอยู่อีกที่สามารถจะไปรักษาได้ คนไข้และญาติกลุ่มนี้มักจะคาดหวังให้หมอส่งคนไข้ไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลจังหวัดหรือโรงพยาบาลศูนย์ไปเลย ในกรณีที่ญาติคิดว่าอาการเป็นหนักหรือรักษาที่นี่แล้วไม่ดีขึ้นซะที ซึ่งก็เป็นสิทธิของคนไข้ คราวนี้มันก็มักจะมีปัญหากับพวกเราซึ่งเป็นหมอเสมอว่า อาการหนักของคนไข้ กับอาการหนักของเรามักไม่ตรงกัน

หมอทุกคนเองที่อยู่รพช. พร้อมที่จะส่งคนไข้ไปโรงพยาบาลระดับสูงกว่าอยู่แล้ว ถ้าคิดว่าถึงจำเป็นและถึงเวลาที่เหมาะสมแล้ว คราวนี้เมื่อไรคือความจำเป็น และเมื่อไรคือเวลาที่เหมาะสมล่ะ คงตอบยากแล้วแต่คนไข้ และแล้วแต่หมอแต่ละคนเหมือนกันนะ นอกจากนี้เรื่อง Progression ของ โรคเป็นอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ บางครั้งมัน Progress ไปเร็วมาก หรือไปในทางที่คาดไม่ถึง ก็ทำให้แย่ลงได้มากๆ และทำให้ญาติไม่เข้าใจอาจกล่าวโทษหมอได้ ทั้งๆที่หมอเองก็คิดว่าได้รักษาอย่างถูกหลักวิชาการทุกอย่าง เกิดปัญหาขึ้นมาได้ น้องที่ยังไม่มีประสบการณ์ฟังอาจจะไม่เข้าใจนัก พี่จะลองยกตัวอย่างให้เห็นภาพพจน์นะ

ตัวอย่างที่1 “รอจนแย่แล้วค่อยส่ง”

          เป็น case Motorcycle accident ดูไม่รุนแรงมาก ตอนมาที่เรา GCS=13-14 ยังพูดไม่รู้เรื่องเท่าไร คนไข้เมาเหล้าด้วย หมอคนหนึ่งอยู่โรงพยาบาลชุมชนเล็กๆ ไกลจากตัวจังหวัดประมาณ 100 กม. จึงสั่ง Admit, NPO, Observe Neurosign, Vital sign q 1 . . . → Read More: คนไข้ตายในรพช.ไม่ได้นะเดี๋ยวมีเรื่อง