By InMyMind, on June 26th, 2010%
ในโรงพยาบาลชุมชน น้องมีโอกาสที่จะต้องเจอกับคนไข้คดีบ่อยมาก บ่อยกว่าการอยู่ในโรงพยาบาลใหญ่ๆ เนื่องจากว่าน้องต้องรับผิดชอบดูแลงานห้องฉุกเฉิน และเวรนอกเวลาราชการด้วย ดังนั้นน้องจึงต้องมีโอกาสตรวจและออกใบชันสูตรในคนไข้คดีเสมอ พี่คงไม่กล่าวในรายละเอียดเกี่ยวกับคนไข้คดีให้ฟัง เพราะเชื่อว่าน้องๆได้เรียนในวิชานิติเวชมาแล้ว แต่ขอเน้นย้ำให้ฟังในจุดเล็กๆน้อยๆแต่ก็เป็น Practical point ให้ฟังนะ
อย่างแรกที่สำคัญคือ คนไข้คดีทุกcase น้องต้องเป็นคนตรวจเอง และลงบันทึกบาดแผลเอง เพื่อที่น้องจะได้ออกใบชันสูตรบาดแผลให้ แม้ว่าคนไข้จะไม่มีแผลอะไรมากก็ตาม โดยทั่วไปในโรงพยาบาลเล็กๆ พยาบาลมักจะตรวจคนไข้ง่ายๆให้นอกเวลาราชการ และลงบาดแผลคร่าวๆ และสั่งยาให้กลับบ้านได้เลย แต่ถ้าเป็นคนไข้คดี แล้วพยาบาลมักจะตามแพทย์มาดูแผล หรืออาจจะนัดคนไข้มาใหม่ให้หมอตรวจ ถ้าคนไข้มาดึกมากนอกเวลาราชการ อย่างที่บอกไปแล้วนะว่า น้องต้องมาตรวจเอง ไม่ควรให้พยาบาลตรวจให้ น้องต้องลงมาดูแผลเอง แม้ว่าบางครั้งจะรู้สึกหงุดหงิดหรือรำคาญมากก็ตาม
พี่ก็เคยเจอบางทีเรื่องไม่เป็นเรื่อง มีชาย 2 คนกินเหล้าและทะเลาะกัน ชกต่อย ไม่มีแผลอะไรมาก มีแต่รอยฟกช้ำ ชกกันซักประมาณตี 1 ตอนประมาณตีหนึ่งครึ่งคนเแรกก็มารพ. พยาบาลก็ตามหมอลงไปดูแผล ก็ไม่มีอะไรมาก ดูเสร็จก็กลับไปนอนต่อ พอตี 2 ก็มาอีกคนหนึ่ง เราเองก็ง่วงนอนรู้สึกหงุดหงิด มันเรื่องอะไรของเรานะต้องมานั่งดูแผล เรื่องไม่เป็นเรื่องของคน 2 ที่ทะเลาะกัน และไม่รู้จักมาพร้อมๆกันด้วย ช่างน่าเบื่อเหลือเกิน ก็ได้แต่บ่นในใจ แต่ก็คงต้องลงมาดูเองอยู่ดี หรือหมอบางคนอาจจะไม่ยอมลงมาดูเลยก็ได้ ให้พยาบาลนัดให้คนไข้มาใหม่ในวันพรุ่งนี้ . . . → Read More: หนีไม่พ้น คนไข้คดี
By InMyMind, on June 26th, 2010%
ในโรงพยาบาลชุมชนอย่างที่น้องทราบแล้วว่าผู้บังคับบัญชาสูงสุดคือผู้อำนวยการโรงพยาบาล ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลทุกงานทุกฝ่ายในโรงพยาบาล โดยทั่วไปแล้วในโรงพยาบาลชุมชนจะประกอบด้วยฝ่ายต่างๆ ประมาณ 7 ฝ่ายดังนี้ คือ ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ฝ่ายการพยาบาล ฝ่ายเภสัชกรรม ฝ่ายชันสูตรสาธารณสุข ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ ฝ่ายสุขาภิบาลและป้องกันโรค ฝ่ายทันตสาธารณสุข ในบางโรงพยาบาลอาจมีฝ่ายพิเศษหรือมีการยุบฝ่ายเข้ารวมกันก็ได้แล้วแต่แต่ละโรงพยาบาล เช่นอาจมีฝ่าย แผนงานและพัฒนา ฝ่ายสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละฝ่ายจะมีหัวหน้าฝ่ายเป็นคนดูแลอีกทีหนึ่ง
โรงพยาบาลชุมชนจะมีคณะกรรมการหนึ่งที่เรียกว่าคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลหรือ กกบ. ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่สำคัญ เป็นเหมือนศูนย์บังคับบัญชาในโรงพยาบาล ประกอบด้วยผู้อำนวยการเป็นประธาน แพทย์ทุกคน และมีหัวหน้าฝ่ายต่างๆเป็นกรรมการ และอาจประกอบด้วยเจ้าหน้าที่คนอื่นซึ่งผู้อำนวยการกำหนดให้เป็นกรรมการด้วย คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลจะทำการประชุมกันเดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งเมื่อน้องเป็นแพทย์ประจำ จะต้องเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลด้วย น้องอาจจะต้องเข้าร่วมการประชุมด้วย และสามารถเสนอความคิดเห็น ซักถามได้ในฐานะกรรมการ
นอกจากคณะกรรมการบริหารงานโรงพยาบาลแล้ว ในโรงพยาบาลอาจจะมีคณะทำงานต่างๆอีกหลายคณะ เช่น คณะกรรมการวิชาการ คณะกรรมการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล คณะกรรมการสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการพัฒนาบริการ เป็นต้น ซึ่งน้องอาจจะได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการให้ไปเป็นกรรมการในบางคณะ หรืออาจได้รับมอบหมายให้เป็นประธานคณะกรรมการด้วยซ้ำ
งานบริหารเหล่านี้นับว่าเป็นงานนอกเหนือจากการตรวจรักษาคนไข้ทั่วไป และเป็นงานใหม่สำหรับน้อง น้องอาจไม่เคยทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมเลย ก็ต้องมาลองทำดูในโรงพยาบาลชุมชน จะนำการประชุม ควบคุมการประชุมอย่างไร ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เหล่านี้พี่ว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายนะ อย่างน้อยๆน้องก็จะได้รับการฝึกในเรื่องการบริหารงานไปในตัว เพราะในโอกาสต่อไป ถ้าน้องมีความสามารถหรือรู้เรื่องงานบริหารมาก อาจจะได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บริหารเอง เช่นเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลเองก็ได้นะ . . . → Read More: การบริหารงานในโรงพยาบาลชุมชน
By InMyMind, on June 26th, 2010%
เรื่องเงินทองแม้ว่าจะเป็นเพียงของนอกกาย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีความสำคัญอยู่ไม่น้อย เวลาน้องเลือกมาใช้ทุน เงินเดือนก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่หลายๆคนให้ความสำคัญ เนื่องจากหมอก็เป็นประชาชนธรรมดา ย่อมต้องการเงินในการทำมาหากิน ใช้สอยต่างๆ บางคนก็มีครอบครัวต้องดูแล เงินเดือนที่แตกต่างกันนั้นย่อมมีความหมายแน่นอนเพราะต้องมาทำงานในรพช.ถึง 2 ปี เงินค่าตอบแทนที่น้องจะได้รับแบ่งเป็นประเภทต่างๆคือ
1 เงินเดือน ได้รับตามระดับซี และ ขั้นเงินเดือน ซึ่งน้องจะได้เงินเดือนเท่ากับ 8190 บาทต่อเดือน ซึ่งอาจจะถูกหักเล็กน้อยเพื่อไปเข้ากองทุนกบข. หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งน้องจะได้คืน ถ้าน้องพ้นจากการเป็นข้าราชการ
2 เงินค่าตอบแทนไม่ทำเวชปฏิบัติเอกชน หรือเรียกง่ายๆว่าเงินไม่ทำคลีนิค เป็นเงินเพิ่มพิเศษที่รัฐกำหนดให้แพทย์ที่ไม่ทำเอกชนหรือไม่เปิดคลีนิคส่วนตัว โดยจะได้รับเงินเป็นจำนวนหนึ่งหมื่นบาทต่อเดือน แต่ต้องมีเวลาทำงานไม่น้อยกว่า 15 วันในแต่ละเดือน ดังนั้นในเดือนไหนที่มีวันหยุดราชการมากๆ น้องต้องระวังถ้าน้องลามากๆในเดือนดังกล่าวอีก อาจทำให้เวลาทำงานไม่ถึง 15 วันในเดือนนั้นก็ได้ น้องก็จะอดได้เงินหมื่นไปโดยปริยาย
3 เงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ หรือเรียกว่าเงินเวร เงินจำนวนนี้จะแตกต่างกันค่อนข้างมากในแต่ละโรงพยาบาล ขึ้นอยู่กับขนาดโรงพยาบาล การแบ่งเวร และนโยบาลของโรงพยาบาล โดยส่วนใหญ่ของโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กๆ จะมีแพทย์อยู่เวรวันละ 1 คน ซึ่งจะอยู่ทั้งเวรนอกและเวรใน คือรับดูทั้งคนไข้ใน Ward และคนไข้ ER โดยจะอยู่เวร On call . . . → Read More: เงินเดือนและค่าตอบแทนของแพทย์