โทสะ

          มีตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่งที่ได้จากพระพุทธองค์ เกี่ยวกับการไม่ปล่อยใจให้เกิดโทสะเพราะการกระทำคำพูดของผู้อื่นคือพราหมณ์ผู้หนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาแล้วด่าว่าพระองค์ พระองค์ทรงถามว่าถ้ามีแขกไปหาถึงบ้านพราหมณ์ จะทำอย่างไรพราหมณ์ก็กราบทูลตอบว่า ก็ต้องต้อนรับเขาด้วยข้าวปลาอาหาร รับสั่งถามว่า ถ้าแขไม่รับของนั้น ของนั้นจะเป็นของใคร พราหมณ์กราบทูลว่าของนี้ต้องเป็นของเจ้าของ พระพุทธองค์จึงรับสิ่งว่า ถ้าเช่นนั้น ไม่ทรงรับคำด่าว่าของพราหมณ์ คำด่าว่านั้นก็ต้องตกเป็นของพราหมณ์นั้น นี่หมายความว่าเราควรหัดคิดว่า ถ้าเขาด่าว่าแล้ว เราไม่รับไม่โกรธ คำด่าว่าทั้งหมดก็จะตกเป็นของเจ้าของ เช่นนี้ แล้ว จะไปรับไปโกรธเมื่อถูกผู้อื่นด่าว่าทำไม

จาก การบริหารทางจิตสำหรับผู้ใหญ่
ของ พระสาสนโสภณ (สุวฑฒโน)

16 . . . → Read More: โทสะ

ทรายผ่านทีละเม็ด….ปฏิบัติงานทีละอย่าง

ผมอยากให้่คุณรู้ว่าชีวิตของคุณเหมือนกับนาฬิกาทรายสำหรับดูเวลาสมัยก่อน คุณรู้แล้วไม่ใช่หรือว่ามีเม็ดทรายเล็กๆอยู่ทางตอนบนของแก้วอยู่นับเป็นล้านๆเม็ด ซึ่งทรายจะค่อยๆผ่านลงมาทางคอคอดตรงกลางลงไปยังแก้วเบื้องล่างทีละเม็ด คุณหรือผมไม่สามารถทำให้ทรายผ่านคอคอดได้มากกว่าทีละเม็ด นอกจากจะทำให้แก้วแตกหรือชำรุด ดังนั้นเมื่อเราเริ่มทำงาน เราอาจจะรู้สึกว่ามีงานมากมายที่เราต้องทำมันให้เสร็จลงไป แต่เราต้องปฏิบัติงานนั้นด้วยการทำทีละอย่าง ไม่ใช่หักโหมทำพร้อมๆกันหลายๆอย่าง แบบเดียวกับทรายผ่านคอแก้วทีละเม็ด

จาก วิธีชนะทุกข์และสร้างสุข
ของ Dale Carnegie

12 . . . → Read More: ทรายผ่านทีละเม็ด….ปฏิบัติงานทีละอย่าง

ความผิด

แต่ลูกจะต้องจำไว้ให้ดีว่า แม้ความผิดเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ ก็อย่านอนใจที่จะทำผิดบ่อยๆ อย่านึกว่าวันนี้เราทำผิดแค่นี้ไม่เป็นไร พรุ่งนี้เราจะแก้ไขไม่ทำอีกก็แล้วกัน ถ้าคิดเช่นนี้ก็ผิดวัตถุประสงค์ที่พ่อพร่ำสอนลูกมา อันความผิดที่เกิดจากรู้ว่าผิดแล้วยังจงใจทำเป็นมโนกรรมที่มีโทษหนัก แม้รู้ตั้งใจจะแก้ไขในวันพรุ่งนี้ก็อาจสายไปเสียแล้ว เพราะในโลกแห่งความวุ่นวายนี้ใครจะรับประกันได้ว่าเราจะมีชีวิตอยู่จนถึงวันพรุ่งนี้

มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้ด้วยลมหายใจ ถ้าลูกขาดลมหายใจเพียงครั้งเดียว ชีวิตน้ก็ไม่ใช่ของลูกอีกแล้ว ทุกสิ่งลูกก็นำติดตัวไปด้วยไม่ได้ เพราะทุกสิ่งเป็นรูปธรรมไม่มีใครเป็นเจ้าของรูปธรรมได้ชั่วนิรันดร สิ่งที่ติดตัวลูกไปได้มีเพียงกรรมดีกรรมชั่วเท่านั้น

จาก โอวาทสี่ของท่านเหลี่ยวฝาน
ของ ท่านเหลี่ยวฝาน

14 . . . → Read More: ความผิด