ข้อจำกัดของการแพทย์ (2)

มาว่ากันต่อนะครับ เรื่องไส้ติ่งอักเสบ ตามทฤษฎีนะครับ ตอนที่ไส้ติ่งเริ่มมีการอักเสบใหม่ๆผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดท้องตรงกลาง บริเวณรอบๆสะดือก่อน หลังจากนั้นอาการปวดท้องจะรุนแรงขึ้น แต่จะย้ายมาปวดที่ท้องน้อยข้างขวาแทน ผู้ป่วยจะปวดมากขึ้น มีอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือมีไข้ได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาทีถูกต้องซึ่งก็คือการผ่าตัด ตัดไส้ติ่งที่อักเสบทิ้ง จะทำให้ระยะต่อมาไส้ติ่งจะแตก และมีหนอง,เชื้อโรคออกมาทำให้เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ซึ่งเป็นอันตรายมากได้

จะเห็นไหมครับว่าตามทฤษฎีแล้ว ตำราทางการแพทย์บอกไว้ชัดเลยว่าอาการจะเป็นอย่างไรบ้าง และตัวทฤษฎีนี้ในตำราทางการแพทย์แทบทุกเล่มจะเขียนไว้คล้ายๆกัน เมื่อคนไข้มาพบแพทย์ แพทย์ต้องทำการซักประวัติดูว่าอาการเข้าได้กับในตำราที่เขียนไว้หรือไม่ ซึ่งยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่หมอต้องคำนึงถึง เช่น อายุของคนไข้ เพศ โรคประจำตัว ฯลฯ นอกจากนี้แพทย์ต้องตรวจร่างกายดูว่ามีจุดกดเจ็บในตำแหน่งของไส้ติ่งหรือไม่ ซึ่งก็คือบริเวณท้องน้อยด้านขวา หรือภาษาแพทย์เรียนกว่า McBurney’s point ถ้าประวัติและอาการทุกอย่างเหมือน แพทย์อาจจะตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะเพื่อช่วยการวินิจฉัยและจึงตัดสินใจบอกคนไข้และนำคนไข้ไปสู่ห้องผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบไม่ยากและคนไข้สามารถกลับบ้านได้เร็ว

ดูๆไปก็ไม่น่าจะมีอะไรมากใช่ไหมครับ แต่สมมุติว่าแพทย์ผ่าตัดเปิดช่องท้องเข้าไปแล้วพบว่าไส้ติ่งดูปกติล่ะ ไม่มีการอักเสบแต่อย่างใด อะไรจะเกิดขึ้น หมออาจถูกร้องเรียนว่าวินิจฉัยผิดพลาด หมอทำไมไม่รู้ ทำให้ผู้ป่วยน่าสงสาร ถูกผ่าตัดฟรี อ่านแล้วรู้สึกเป็นอย่างไรบ้างครับ คนไข้น่าสงสาร น่าเห็นใจ แต่หมอล่ะครับมีใครเข้าใจหรือเห็นใจหรือไม่ อีกตัวอย่างครับ ถ้าคนไข้มาเพราะว่าปวดท้องมาได้ 3-4 ชม. แพทย์ตรวจดูแล้วบอกว่าไม่เป็นไร ไม่เหมือนไส้ติ่งอักเสบให้ดูอาการก่อน ถ้าไม่ดีค่อยมาหาใหม่ หลังจากนั้นคนไข้กลับบ้านไป และปวดท้องมากขึ้น กลับมาใหม่ หมอต้องผ่าตัดด่วน และพบว่าไส้ติ่งแตกแล้ว . . . → Read More: ข้อจำกัดของการแพทย์ (2)

ข้อจำกัดของการแพทย์ (1)

การที่จะอธิบายให้ใครสักคนเข้าใจข้อจำกัดต่างๆของวิชาชีพแพทย์นั้นเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการแพทย์และสาธารณสุขอาจมองด้วยความไม่เข้าใจ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องพูดกันยาวครับ มันเป็นที่มาอย่างหนึ่งของความไม่เข้าใจกันระหว่างแพทย์และคนไข้ซึ่งดูจะมีความไม่เข้าใจกันมากขึ้นทุกที

ในสมัยก่อนเรียนแพทย์ ผมมองว่าวิชาแพทย์นี้เป็นวิชาที่ดีจริงๆ สามารถช่วยเหลือคนไข้ได้ เรียนไปแล้วจะรู้ว่าคนไข้เป็นโรคอะไร และจะรักษาอย่างไร ใช้ยาแบบไหนถึงจะดีที่สุด ภาพหมอในอุดมคติจะเป็นหมอที่ให้การวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง จ่ายยาหรือรักษาแล้วคนไข้ดีขึ้นทันตาเห็น ไม่มีโรคที่รักษาไม่ได้ ดูๆไปวิชาแพทย์ในอุดมคติเป็นเหมือนวิชาของเทวดาก็ไม่ปาน แต่พอเข้าเรียนแพทย์ เรียนไปเรียนไปก็เริ่มเข้าใจมากขึ้นครับว่า การแพทย์เรานั้นมีข้อจำกัดอยู่มาก การแพทย์เราก้าวหน้าขึ้นก็จริง แต่มีอีกไม่น้อยเลยที่ต้องพูดว่าเราไม่รู้ เช่น ไม่รู้ว่าโรคนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ไม่รู้ว่าทำไมบางคนถึงมีอาการรุนแรง ไม่รู้ว่าทำไมบางคนถึงรักษาแล้วไม่ดีขึ้น ไม่รู้ว่าทำไมบางคนตอบสนองต่อยาไม่เหมือนคนอื่นๆ นอกจากความไม่รู้แล้ว วิชาแพทย์ยังมีความเป็นไปได้ที่จะคลาดเคลื่อนหรือไม่ตรงกับตำราสูง

เช่นตำราเขียนไว้ว่า คนเป็นโรคหัวใจขาดเลือดจะมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงจนทนไม่ได้และต้องมาโรงพยาบาล แต่ในความเป็นจริงมีคนไข้ไม่น้อยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันโดยที่ไม่มีอาการเจ็บหน้าอกเลย บางคนอาจมาด้วยอาการปวดท้องแทน ทำให้วินิจฉัยได้ยาก ตัวอย่างแบบนี้มีอีกมากครับ อาจารย์แพทย์หลายคนถึงกับบอกว่าไม่มีอะไร 100% ใน medicine ซึ่งผมเห็นด้วยเลยครับ และอยากจะบอกด้วยว่าความไม่แน่นอนในวิชาชีพแพทย์เกิดจากเพราะเราเป็นมนุษย์ เป็นสิ่งมีชีวิต ไม่ใช่เครื่องจักร

ชีวิตเป็นสิ่งมหัศจรรย์ มีความลึกลับซับซ้อนมาก และใครก็สร้างเลียนแบบไม่ได้ ผมเคยพูดเล่นๆกับเพื่อนว่า ลองดูนะ มนุษย์เก่งแค่ไหนก็ตาม สามารถสร้างตึกสูงๆ สร้างเครื่องบินลำใหญ่ๆ สร้างยานอวกาศที่ออกไปนอกโลกได้ แต่ไม่สามารถสร้างใบไม้ขึ้นมาได้แม้แต่ใบเดียว และผมก็เชื่อว่ามนุษย์เราเข้าใจการทำงานของเครื่องบินลำใหญ่ๆมากกว่าจะเข้าใจใบไม้เพียงใบเดียว

มนุษย์เรายิ่งซับซ้อนกว่าใบไม้มากนัก เรายังไม่เข้าใจทั้งหมด และเมื่อมันเกิดอาการรวนขึ้นมาด้วยเหตุอะไรก็ตาม การเข้าไปหาสาเหตุรวมถึงการแก้ไขรักษาก็อาจไม่ง่ายนัก เช่นเมื่อคนเราปวดท้องขึ้นมา ก็เกิดได้จากสาเหตุต่างๆมากมาย แพทย์ต้องพยายามวินิจฉัยโรคว่าปวดท้องนั้นเกิดจากอะไร โดยใช้ข้อมูลจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย เอ๊กซ์เรย์ . . . → Read More: ข้อจำกัดของการแพทย์ (1)

หมอเปลี่ยนไป ?

ในสมัยก่อนแพทย์คือผู้รักษาชีวิต เป็นผู้ให้ มีความโอบอ้อมอารี มีเมตตากับคนไข้เสมอ ปัจจุบันภาพดังกล่าวไม่ค่อยได้ถูกกล่าวถึงอีกแล้ว สังคมปัจจุบันโดยเฉพาะสังคมเมืองไม่ได้มองภาพหมอเป็นผู้ให้โดยไม่หวังผลตอบแทนอีกต่อไป มองวิชาชีพแพทย์เป็นแค่อาชีพหนึ่งเท่านั้น  เห็นแต่ภาพหมอเปิดคลินิกส่วนตัว โดยเฉพาะคลินิกเสริมสวย คลินิกความงาม ซึ่งมีขึ้นมากเป็นดอกเห็ด ติดป้ายประกาศเชิญชวน ประกาศราคาการรักษาในเชิงเสริมสวยกันอย่างเปิดเผย ทำให้ภาพพจน์ของแพทย์จากที่เคยเป็นผู้รักษาโรค รักษาชีวิต กลับกลายเป็นแพทย์ผู้รักษาความงามแทน ซึ่งทำให้ภาพพจน์แห่งความเป็นแพทย์ด้อยค่าลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

นอกจากนี้ยังมีภาพอื่นๆอีกที่ทำให้หลายต่อหลายคนไม่สบายใจ เช่น ภาพหมอกลายเป็นนักธุรกิจ  ซึ่งถ้าไม่ได้เอาความเป็น “นายแพทย์หรือแพทย์หญิง” ติดไปด้วยก็คงไม่เท่าไรนัก เพราะเป็นการประกอบอาชีพๆหนึ่ง แต่ในบางครั้งการทำธุรกิจบางอย่างก็ไม่เหมาะที่หมอจะทำเนื่องจากทำให้เกิดความขัดกันแห่งผลประโยชน์ เช่น หมอทำธุรกิจขายอาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ต่างๆ มันจะดูไม่ดีเลย แม้จะเป็นอาชีพสุจริตแต่ในฐานะของความเป็นแพทย์ซึ่งมีคนเชื่อถืออยู่แล้ว แต่กลับไปขายของต่างๆซึ่งตนเองมีผลประโยชน์ด้วย จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่สังคมจะมองภาพแพทย์ในแง่ลบมากขึ้น 

นี่ยังไม่รวมถึงการที่มีปัญหาฟ้องร้องแพทย์มากขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเกิดจากความเข้าใจผิดในการสื่อสารระหว่างหมอกับคนไข้ เป็นความผิดประมาทของหมอ หรือเป็นเหตุสุดวิสัยจริงๆ ปัญหาการฟ้องร้องเหล่านี้ทำให้เกิดความสงสัย ไม่เชื่อถือในวิชาชีพแพทย์มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อไป คำถามตัวโตๆที่หลายฝ่ายอยากถามคือ ทำไมหมอถึงเปลี่ยนไปอย่างนี้ จริยธรรม จรรยาบรรณของแพทย์หายไปไหนหมด             

ผมเชื่อนะครับว่าทุกวงการย่อมมีทั้งคนดีและคนไม่ดีปะปนกัน ผมเองคงไม่บังอาจเรียกร้องให้แพทย์ทุกคนดำรงตนให้เหมาะสมกับวิชาชีพ รวมทั้งไม่บังอาจเรียกร้องให้สังคมหันมามองแพทย์ในแง่ดีบ้าง แต่ผมอยากจะบอกว่า ยังมีแพทย์อีกมากครับซึ่งมีอุดมการณ์ มีจริยธรรม และปฏิบัติงานอย่างเป็นผู้ให้และเป็นผู้เสียสละอย่างแท้จริงอยู่ในสังคมไทย ท่านเหล่านี้มาอยู่มากมาย บางคนเป็นแพทย์ในชนบท บางคนอยู่ในเมือง หรือบางคนเป็นอาจารย์แพทย์ผู้ทุ่มเทสอนลูกศิษย์ให้เป็นแพทย์ที่ดี ท่านเหล่านี้ไม่เคยเรียกร้อง ไม่เคยเป็นข่าว . . . → Read More: หมอเปลี่ยนไป ?