คำสอนจากอาจารย์แพทย์

ยังจำได้ดีครับ สมัยเป็นนักศึกษาแพทย์ที่ศิริราชรู้สึกประทับใจในอาจารย์หลายๆท่านมาก บางครั้งคำพูดที่ท่านสั่งสอนทำให้ผมได้คิดและเกิดแรงบันดาลใจในการเรียนแพทย์อย่างประหลาด อาจารย์หลายๆท่านไม่เพียงสอนเรื่องวิชาความรู้เท่านั้น แต่ยังสอนถึงจิตวิญญาณ จริยธรรม และจรรยาบรรณในความเป็นแพทย์ด้วย ซึ่งหลายสิ่งหลายอย่างผมอยากจะนำมาถ่ายทอดที่นี่เพื่อให้น้องๆรุ่นหลังได้รับคำสั่งสอนดีๆเหล่านี้ด้วย เช่น

“การเป็นหมอต้องวินิจฉัยและรักษาไปตามการวินิจฉัยโรค ไม่ใช่วินิจฉัยอย่าง รักษาไปอีกอย่าง อย่าหลอกตัวเอง”

“แม้ว่าหมออาจจะไม่สามารถรักษาโรคได้ทุกโรค แต่หมอสามารถรักษาคนไข้ได้ทุกราย”

“เป็นหมอต้องมีความรู้มากกว่าหมอตี๋ขายยา ไม่ใช่ปวดหัวก็ให้ยาแก้ปวด ไอก็ให้ยาแก้ไอ”

“เป็นหมอแล้วไม่มีจริยธรรม เลวกกว่าหมาอีก”

“พยายามให้ได้ข้อมูลมาน้อยๆ แล้วคิดอะไรได้มากๆ แต่อย่าให้ได้ข้อมูลมามากๆ แต่คิดอะไรไม่ออก”

 

 ตอนเป็นนักศึกษาแพทย์ปี 2 ในชั่วโมง physiology

“จงให้ความรู้เป็นกุญแจไขความรู้สึกสำนึกของท่านเสียก่อน แล้วความรู้ที่ท่านต้องการจะเป็นของท่านง่ายขึ้น”

“ความรู้เรียนทันกันหมด สิ่งที่ใช้ apply กับคนไข้สำคัญ”

 

ตอนออก OPD เด็กขณะเป็นนักศึกษาแพทย์ปี 5 อาจารย์แพทย์ท่านหนึ่งสอนว่า

“ผมต้องต้อนพวกหมอ เพราะพวกหมอไม่พยายามต้อนตัวเอง”   

“เวลาเราฟังเสียงปอด พวกเรามักจะฟังแต่ Adventitious sound และถ้าไม่มีก็มักจะเขียนว่า lung clear, หรือ no . . . → Read More: คำสอนจากอาจารย์แพทย์

ทำไมถึงต้องเป็นฉัน (Why me?)

เชื่อแน่เลยครับว่าคำถามข้างต้นเป็นคำถามที่คนไข้หลายๆคนอยากจะถามหมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนไข้ที่เป็นโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น เป็นโรคมะเร็ง อัมพาต ฯลฯ เป็นต้น ทำไมถึงต้องเป็นเรา เราไม่ได้ทำอะไรเลย ฉันไม่เคยสูบบุหรี่ แล้วเป็นมะเร็งได้อย่างไร ผมออกกำลังกายมาตลอด ระวังในการกินมาตลอดทำไมถึงเป็นโรคหัวใจ ฯลฯ แม้ว่าคำถามนี้จะเกิดขึ้นในใจของคนไข้หลายๆคน แต่น้อยคนที่จะหลุดออกไปเป็นคำถามถามหมอ ซึ่งจริงๆแล้ว คำถามนี้นับว่าเป็นคำถามที่หมออย่างเราตอบยากที่สุดอีกคำถามหนึ่งครับ

ตอบอย่างตรงไปตรงมา ก็คือ ไม่มีใครรู้หรอกครับว่าทำไมคุณถึงเป็นโรคนั่นโรคนี้ แม้ว่าตามหลักวิทยาศาสตร์แล้วเราพอที่จะตอบอย่างมีหลักการได้ เช่น คุณมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ  ที่จะทำให้เกิดโรคคือ.1….2….3…4……ฯลฯ หรือคุณมีกรรมพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคได้ง่ายกว่าคนอื่น  ฯลฯ เช่น  ถ้ามีใครสักคนถามนะครับว่าทำไมถึงเป็นโรคเบาหวาน ตอบตามหลักก็อาจจะพูดว่า เพราะคุณอ้วน มีกรรมพันธุ์ กินหวานบ่อย ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย มีภาวะดื้อต่อ insulin ฯลฯ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เรียกเหตุปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดโรคว่าเป็นปัจจัยแบบ Multifactors

ซึ่งถ้าพิจารณาดูดีๆนะครับจะพบว่า ก็ไม่ใช่ว่าคนอ้วนทุกคนจะเป็นเบาหวาน หรือมีคนที่พ่อแม่เป็นเบาหวานทั้งคู่แต่เจ้าตัวก็ไม่ได้เป็นเบาหวานก็มี หรือในทางตรงกันข้าม คนผอม หรือคนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอก็เป็นเบาหวานได้ คำถามคือทำไม คำตอบจริงๆก็คือไม่รู้ แม้แต่โรคติดเชื้อต่างๆที่มีสาเหตุแน่ชัดเช่น โรคไข้เลือดออกเป็นต้น ทำไปบางคนถูกยุงที่มีเชื้อไข้เลือดออกแล้วไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อยมากจนไม่รู้ด้วยซ้ำว่ากำลังติดเชื้อไข้เลือดออกอยู่ ในทางตรงกันข้ามบางคนติดเชื้อเดียวกัน แต่มีอาการรุนแรง มีภาวะช๊อค มีเลือดออก รุนแรงมากจนเสียชีวิตได้ . . . → Read More: ทำไมถึงต้องเป็นฉัน (Why me?)

แง่คิดจากหนังสือ The Doctor

ตอนสมัยเป็นนักศึกษาแพทย์ จำได้แม่นเลยครับว่า มีหนังสืออ่านนอกเวลาชื่อว่า “The Doctor” ซึ่งอยู่ในหลักสูตร แต่งโดย Dr. Edward E. Rosenbaum เนื้อหาโดยคร่าวๆกล่าวถึงหมอคนหนึ่งซึ่งต่อมาเป็นมะเร็งที่กล่องเสียง ต้องฉายแสง และต้องตกอยู่ในฐานะของคนไข้ จำรายละเอียดไม่ได้แล้วครับ เพราะนานมากแล้ว แต่จำได้ว่าเป็นหนังสือที่อ่านแล้วประทับใจมาก อ่านฉบับภาษาอังกฤษทั้งเล่มอย่างน้อย 2 รอบ รู้สึกเหมือนกับเคยทำเป็นหนังด้วย เพื่อนๆนักศึกษาแพทย์ตอนนั้นจำได้ว่าหลายคนไปหาหนังมาดู แต่ผมเองอ่านหนังสืออย่างเดียวครับ จำได้แม่นโดยเฉพาะตัวละครเอก ซึ่งเป็นหมอ ซึ่งมีความคิดและประสบการณ์ในการเป็นหมอมายาวนาน แต่ต้องตกอยู่ในฐานะคนไข้ ซึ่งความรู้สึกต้องต่างกันไปแน่นอน จากคนที่เคยเป็นผู้รักษา เป็นผู้ถูกรักษา จากคนที่เคยออกคำสั่ง หรือตัดสินใจในฐานะหมอ กลับต้องมาพึ่งคนอื่น ถูกออกคำสั่ง ฯลฯ

ประเด็นเล็กๆน้อยๆซึ่งบางครั้งในฐานะหมอเราเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาเสียเหลือเกิน แต่พอตกเป็นคนไข้บ้างก็ว่าไม่ธรรมดา เพราะสภาพจิตใจต่างกันมาก เช่นเราบอกให้คนไข้ไปเจาะเลือด แล้วรอผลหรือให้มาฟังผลวันหลัง เราบอกไปด้วยความเคยชิน แต่ถ้าเราไม่มาเป็นคนไข้เองเราเคยคิดไหมว่า ขณะที่เขาถูกเจาะเลือด หรือรอผลเลือดเขาจะมีความกังวลมากแค่ไหน โดยเฉพาะถ้าหมอกำลังสงสัยโรคร้ายแรงต่างๆ เขาอาจจะกลุ้มใจ กินไม่ได้นอนไม่หลับ ระหว่างที่รอผลการตรวจ ซึ่งหมอๆอย่างพวกเราควรต้องคำนึงถึงจุดนี้ไว้บ้าง

นี่คือหน้าปกหนังสือครับ

. . . → Read More: แง่คิดจากหนังสือ The Doctor