กระแส specialist กับแพทย์ชนบท

เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันการแพทย์ในประเทศไทย มุ่งให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีค่อนข้างมาก และเน้นความเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค โดยมีการแบ่งสาขาของแพทย์ออกเป็นสาขาย่อยๆมากมาย และยังมีอนุสาขาอีกต่างหาก ซึ่งเป็นการเดินตามวัฒนธรรมตะวันตก สังคมไทยเองก็รู้สึกชื่นชอบกับลักษณะดังกล่าวโดยเฉพาะในสังคมเมือง ดังจะเห็นได้จากชาวบ้านในเมือง เมื่อเจ็บป่วยก็จะมุ่งเน้นหาหมอเฉพาะโรค เช่นรู้สึกปวดหัวก็จะไปให้หมอที่ชำนาญด้านโรคสมองโรคประสาทดู ปวดเข่าก็ต้องไปให้หมอกระดูกดู ในต่างจังหวัดเองก็เช่นกัน ถ้าชาวบ้านมีทางเลือก เชื่อได้เลยว่าเขาต้องเลือกไปหาหมอเฉพาะทางก่อนแน่             

สาเหตุของค่านิยมดังกล่าว มาจากกระแสทุนนิยม และบริโภคนิยม โดยถือเรื่องวัตถุเป็นหลัก เนื่องจากในสมัยก่อนหมอเฉพาะทางจะอยู่ในเมืองเท่านั้น และจะอยู่ในโรงพยาบาลที่ใหญ่หรืออยู่ในโรงเรียนแพทย์ ซึ่งมีบุคลากร เครื่องไม้เครื่องมือพร้อมสรรพ ชาวบ้านพอมาโรงพยาบาลได้เห็นตึกใหญ่ๆ มีเจ้าหน้าที่มากมายเดินกันให้ขวักไขว่ ต้องไปห้องโน้นทีห้องนี้ที ไปเจาะเลือด x-ray ฯลฯ ชาวบ้านจะเชื่อถือไปกว่าครึ่งแล้ว ตรงกันข้ามกับหมอในโรงพยาบาลเล็กๆ ซึ่งมีตึกเก่าๆ ดุซอมซ่อ ไม่มีการแบ่งเป็นแผนกต่างๆ ห้องยา ห้องเจาะเลือด ห้องเอ๊กซเรย์ดูเล็กๆไม่น่าเชื่อถือ ชาวบ้านก็ไม่ศรัทธา ต่อมาเมื่อการแพทย์ก้าวหน้ากระจายไปถึงขนาดมีโรงพยาบาลใหญ่ในทุกๆจังหวัด และมีโรงพยาบาลอำเภอทุกอำเภอ ถนนหนทาง การคมนาคมดีขึ้น ชาวบ้านเริ่มมีทางเลือกมากขึ้น บางคนเป็นหวัดนิดหน่อย ก็อุตสาห์เหมารถเข้าไปรักษาในตัวจังหวัด ทั้งๆที่อาจจะรักษาที่โรงพยาบาลชุมชนหรือแม้แต่สถานีอนามัยก็ได้ การลัดขั้นตอนจึงเกิดขึ้นมากมาย ส่วนหนึ่งก็เนื่องจากชาวบ้านขาดศรัทธาในหมอโรงพยาบาลเล็กๆนั่นเอง

แต่ถ้าพิจารณาดีๆแล้วที่ชาวบ้านไม่ศรัทธาในหมอในโรงพยาบาลเล็กๆ ส่วนใหญ่เนื่องจากสภาพภายนอกของโรงพยาบาลมากกว่าไม่เกี่ยวกับตัวบุคคลเท่าไร ชาวบ้านเขาไม่รู้หรอกว่าหมอที่นั่งอยู่หน้าเขา เป็นหมอที่เก่งแค่ไหน มีความรู้ความชำนาญแค่ไหน รู้แต่เพียงว่า หมอโรงพยาบาลเล็กๆก็คงสู้หมอโรงพยาบาลใหญ่ๆไม่ได้ และหมอโรงพยาบาลของรัฐก็สู้หมอรพ.เอกชนไม่ได้ ไม่เชื่อลองให้อาจารย์โรงเรียนแพทย์เลยก็ได้ ไปนั่งตรวจคนไข้ที่สถานีอนามัยสัก 1 เดือน จะมีชาวบ้านศรัทธาซักกี่มากน้อย             

จะเห็นได้ว่าหมอในชนบทจะถูกสังคมภายนอกมองเสมอว่า เป็นหมอที่ไม่เก่ง ไม่มีความรู้ ไม่มียาที่ดีๆในการรักษา หมอในชนบทส่วนใหญ่ก็คือหมอทั่วไปนั่นเอง ซึ่งไม่ได้เรียนต่อเฉพาะทาง พอหมอชนบทเข้ามาในเมืองก็มักจะถูกถามเสมอว่าเป็นหมออะไร พอบอกว่าเป็นหมอทั่วไปรักษาได้ทุกโรค คนในเมืองก็มักจะมองอย่างแปลกๆ ผสมกับการดูถูกเล็กน้อย ว่าเป็นหมอธรรมดาซึ่งไม่ได้เรียนต่อ ถ้าบอกว่าเป็นหมอสมอง หมอหัวใจ หมอผ่าตัด ทุกคนจะมองอย่างชื่นชมและให้การยกย่อง หมอทั่วไปจึงดำรงอยู่ยากในเมือง เนื่องจากขาดความเป็นที่เชื่อถือนั่นเอง และเมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ หมอทั่วไปมักจะไม่มีโอกาสทำงานในเมือง เพราะหมอในเมืองส่วนใหญ่มากๆ เป็น specialist หมดแล้ว โรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลของรัฐก็จะรับแต่หมอเฉพาะทาง หมอทั่วไปจึงไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่ทำงาน ครั้นจะลาออกไปเปิด Clinic โดยไม่ได้ชำนาญด้านอะไรเป็นพิเศษก็มักจะไม่มีคนไข้เข้าร้านเท่าไร หมอทั่วไปจึงมีทางเลือกค่อนข้างน้อยในปัจจุบัน

 

Leave a Reply

 

 

 

You can use these HTML tags

<a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>